การสร้างผลแบบรายการข้อมูลหรือ List Rendering ใน VueJS

บทความใหม่ ปีนี้ โดย Ninenik Narkdee
list rendering v for vuejs

คำสั่ง การ กำหนด รูปแบบ ตัวอย่าง เทคนิค ลูกเล่น การประยุกต์ การใช้งาน เกี่ยวกับ list rendering v for vuejs

ดูแล้ว 486 ครั้ง


จากตอนที่แล้วเราติดค้างกันในส่วนของเนื้อหาการใช้งานงาน v-for 
directive มาดูกันต่อในเนื้อหาตอนนี้ ใน Vue.js, v-for เป็นคำสั่ง 
directive ที่ใช้สำหรับทำ loop (วนลูป) เพื่อแสดงผลรายการของข้อมูล
ที่อยู่ใน array หรือ object ออกมาใน HTML โดยสามารถใช้ได้ใน 
template ของ Vue components
 

ตัวอย่างการใช้ v-for กับ array:

<script setup>
import { ref } from 'vue'

const lists = ref(["One","Two","Three"])
const items = ref([{ message: 'Hello' }, { message: 'World' }])
</script>

<template>
  <ul>
    <li v-for="item in lists">
      {{ item }}
    </li>
  </ul>

  <ul>
    <li v-for="item in items">
    {{ item.message }}
    </li>
  </ul>  
</template>
 
ในตัวอย่างข้างต้น:
 
- lists และ items คือ array ที่เราต้องการวนลูปเพื่อแสดงผล
- item คือตัวแปรที่ใช้สำหรับแทนค่าในแต่ละ iteration หรือ การทำซ้ำ ของ loop
 
lists จะเป็น array ของข้อมูล string ในขณะที่ items จะเป็น array ของ object
 

ผลลัพธ์ที่ได้

 

 
 
นอกจากนี้ในการใช้งาน v-for ยังสามารถรองรับการแสดงค่า index ของ แต่ละรายการได้
โดยปกติค่าจะเริ่มต้นที่ 0 โดยกำหนดเป็นค่า option ตัวที่สอง ใน วงเล็บ (item, index)
 
  <ul>
    <li v-for="(item, index) in lists">
      {{ item }} {{ index }}
    </li>
  </ul>

  <ul>
    <li v-for="(item, index) in items">
    {{ item.message }} {{ index }}
    </li>
  </ul>  
 

ผลลัพธ์ที่ได้

 

 
 
เราสามารถใช้รูปแบบการแยกทีละส่วนของตัวของ object เพื่อเข้าถึง property ของ object
นั่นๆ ได้ง่ายและสะดวกขึ้นได้ หรือที่เรียกว่า destructuring เช่น เราต้องการเข้าถึง property
ที่ชื่อว่า message เพื่อให้เรียกใช้งานได้ง่าย ก็จะใช้เป็น { message } in items ทำให้เวลา
เรียกใช้ค่า ก็ไม่ต้องใช้เป็น item.message หรือก็คือเข้าถึงการใช้ข้อมูลได้ง่ายขึ้น
 
<li v-for="{ message } in items">
  {{ message }}
</li>
<!-- หรือเรียกใช้พร้อมกับกำหนด index ก็จะเป็น
<li v-for="({ message }, index) in items">
  {{ message }} {{ index }}
</li>
 
กรณีใน array มีลูป array ซ้อนด้านในอีก เราสามารถเรียกใช้ v-for เพื่อลูปรายการข้อมูล
ด้านในซ้อนกันได้ ตัวอย่าง
 
<li v-for="item in items">
  <span v-for="childItem in item.children">
    {{ item.message }} {{ childItem }}
  </span>
</li>
 
ตัวอย่างการใช้ Vue.js directive v-for ซ้อนกันเพื่อวนลูป (loop) ผ่านข้อมูลที่มี
โครงสร้างแบบ nested (มีรายการภายในรายการ) และแสดงผลข้อมูลเหล่านั้นในรูปแบบ HTML
ดูตัวอย่างโค้ด
 
<script setup>
import { ref } from 'vue'

const items = ref(
  [
      {
        message: 'Parent 1',
        children: ['Child 1.1', 'Child 1.2']
      },
      {
        message: 'Parent 2',
        children: ['Child 2.1', 'Child 2.2']
      }
    ]
)
</script>

<template>
  <li v-for="item in items">
    <span v-for="childItem in item.children">
      {{ item.message }} {{ childItem }} 
    </span>
  </li>
</template>
 
ตัวแปร items เป็นข้อมูล array ที่มี object ด้วยกัน 2 รายการ และใน property 
ของแต่ละ object ก็จะมี children property ที่เป็น array ซ้อนด้านในอีกที
 

ผลลัพธ์ที่ได้

 
 

 

ตัวอย่างการใช้ v-for กับ object:

สำหรับข้อมูลประเภท object เราจะใช้ v-for สำหรับวนแสดงข้อมูล property ของ object
ทั้งหมดมาแสดง ดูตัวอย่างด้านล่างประกอบ
 
<script setup>
import { ref, reactive } from 'vue'

const myObject = reactive({
  title: 'How to do lists in Vue',
  author: 'Jane Doe',
  publishedAt: '2016-04-10'
})
</script>

<template>
  <ul>
    <li v-for="value in myObject">
      {{ value }}
    </li>
  </ul>
</template>
 
value คือตัวแปร ที่เรากำหนดสำหรับค่าข้อมูลของ property แต่ละตัวเรียงตามลำดับ 
ก็จะเป็น title author และ publishedAt หากเราต้องการชื่อ property มาใช้งาน
หรือแสดงด้วย ก็จะเป็น parameter ตัวที่ 2 ก็ให้เรากำหนดค่าเป็น key
 
<li v-for="(value, key) in myObject">
  {{ key }}: {{ value }}
</li>
 

ผลลัพธ์ที่ได้

 


 
 
นอกจากนั้นยังสามารถใช้ค่า index เป็นค่าตัวที่ 3 เพื่อนำมาใช้งานได้ ดังนี้
 
<li v-for="(value, key, index) in myObject">
  {{ index }}. {{ key }}: {{ value }}
</li>
 

ผลลัพธ์ที่ได้

 

 
 

การใช้ v-for สำหรับวนลูปตามช่วงตัวเลขหรือ Range

นอกจากเราจะใช้ v-for สำหรับข้อมูล array และ object ที่กล่าวไปแล้วข้างต้น เรายังสามารถใช้
v-for วนลูปค่าช่วงตัวเลข ตั้งแต่ 1 ถึงจำนวนที่ต้องการ (*ต้องเป็นตัวเลขจำนวนเต็ม) สมมติเช่น
เราต้องการวนลูป 10 รายการแรก ก็จะใช้เป็น
 
<span v-for="n in 10">{{ n }}</span>
 
ก็จะเป็นการวนแสดงตัวเลข 1 ถึง 10 
 

ผลลัพธ์ทีได้

 


 
 
สังเกตว่า n เป็นตัวแปรหรือชื่อที่เรากำหนดใน for ได้เลย ไม่ต้องทำเป็นค่า state เราสามารถ
ใช้ชื่ออื่นใดๆ ก็ได้ โดยค่าจะเริ่มต้นที่ 1 
 
 

การใช้ v-for บน <template>

รูปแบบการใช้งานคล้ายกับ v-if ที่อธิบายเพิ่มเติมในตอนที่ผานมา เพียงแต่สำหรับ v-for เป็น
การวนลูปทำซ้ำ ดังนั้น ถ้าเราต้องการคลุมส่วนของเนื้อหา ที่มีหลายๆ รายการ และต้องการ
ให้แสดงซ้ำ ก็สามารถใช้ v-for ร่วมกับ <template> ได้ ตัวอย่าง เช่น
 
<script setup>
import { ref, reactive } from 'vue'

const items = ref(
  [
    { msg: 'Item 1' },
    { msg: 'Item 2' },
    { msg: 'Item 3' }
  ]
)
</script>
<template>
  <ul>
    <template v-for="item in items">
      <li>{{ item.msg }}</li>
      <li class="divider" role="presentation"></li>
    </template>
  </ul>
</template>
<style scoped>
.divider {
  border-top: 1px solid #ccc; /* เส้นแบ่งสีเทา */
  margin: 10px 0;/* ระยะห่างด้านบนและด้านล่าง */
}
</style>
 

ผลลัพธ์ที่ได้

 


 
 
 
ข้อดีของการใช้งาน <template> สำหรับ v-for ก็คือ ปกติแล้ว เมื่อมีการใช้งาน v-if และ
v-for จะไม่ใช้ทั้งสองร่วมกัน สมมติเช่น เราไม่ต้องการแสดงรายการที่ต้องทำหรือ todo list 
ที่ทำเสร็จแล้ว ดูตัวอย่างประกอบ
 
<script setup>
import { ref, reactive } from 'vue'

const todos = ref(
  [
    { name: 'Buy groceries', isComplete: false },
    { name: 'Read a book', isComplete: true },
    { name: 'Write a blog post', isComplete: false }
  ]
)
</script>
<template>
  <ul>
    <li v-for="todo in todos" v-if="!todo.isComplete">
      {{ todo.name }}
    </li>
  </ul>
</template>
 
ตัวอย่างโค้ดนี้จะเกิด error เพราะมีการใช้งาน  v-if จะมีความสำคัญกว่า v-for จึงไม่สามารถ
ใช้ค่าจาก state ของ v-for ได้ กล่าวคือจะเข้าไปใช้ตัวแปร ที่ประกาศทีหลังไม่ได้  ดังนั้นเพื่อ
ให้ทั้งสองส่วนสามารถใช้ร่วมกันได้ เราจึงใช้ <template> กำหนดวนลูปด้านนอกด้วย v-for
และใช้ v-if ในแท็ก <li> อีกที ก็จะได้เป็น
 
<script setup>
import { ref, reactive } from 'vue'

const todos = ref(
  [
    { name: 'Buy groceries', isComplete: false },
    { name: 'Read a book', isComplete: true },
    { name: 'Write a blog post', isComplete: false }
  ]
)
const ok = ref(true)
</script>
<template>
  <ul>
    <template v-for="todo in todos">
      <li v-if="!todo.isComplete">
        {{ todo.name }}
      </li>
    </template>
  </ul>
</template>
 

ผลลัพธ์ที่ได้

 
 
ก็จะแสดงเฉพาะรายการที่ยังไม่เสร็จเท่านั้น
 
เนื้อหาตอนนี้จะประมาณนี้ก่อน เรามาดูต่อตอนหน้า เกี่ยวกับการใช้ v-for เพิ่มเติม เมื่อข้อมูล
จำเป็นต้องจัดการ และเกิดการเปลี่ยนแปลงลำดับ และการจัดเรียง รอติดตามตอนหน้า
 


กด Like หรือ Share เป็นกำลังใจ ให้มีบทความใหม่ๆ เรื่อยๆ น่ะครับ



อ่านต่อที่บทความ



ทบทวนบทความที่แล้ว









เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง









URL สำหรับอ้างอิง





คำแนะนำ และการใช้งาน

สมาชิก กรุณา ล็อกอินเข้าระบบ เพื่อตั้งคำถามใหม่ หรือ ตอบคำถาม สมาชิกใหม่ สมัครสมาชิกได้ที่ สมัครสมาชิก


  • ถาม-ตอบ กรุณา ล็อกอินเข้าระบบ
  • เปลี่ยน


    ( หรือ เข้าใช้งานผ่าน Social Login )







เว็บไซต์ของเราให้บริการเนื้อหาบทความสำหรับนักพัฒนา โดยพึ่งพารายได้เล็กน้อยจากการแสดงโฆษณา โปรดสนับสนุนเว็บไซต์ของเราด้วยการปิดการใช้งานตัวปิดกั้นโฆษณา (Disable Ads Blocker) ขอบคุณครับ