การสร้าง Keystore และการ Build app ใน Flutter

เขียนเมื่อ 2 ปีก่อน โดย Ninenik Narkdee
signing app keystore build app flutter

คำสั่ง การ กำหนด รูปแบบ ตัวอย่าง เทคนิค ลูกเล่น การประยุกต์ การใช้งาน เกี่ยวกับ signing app keystore build app flutter

ดูแล้ว 11,606 ครั้ง




เนื้อหาตอนต่อไปนี้จะมาดูวิธีการสร้าง keystore สำหรับใช้
ในการ build app เป็นไฟล์ apk หรือเป็น bundle app ไปติดตั้ง
ในมือถือหรืออัพโหลดขึ้น Google Play Store  ขั้นต้นเราได้ผ่าน
ส่วนของการจัดการเรื่องชื่อ app ชื่อ package การกำหนดไอคอน
app การกำหนด splash screen หรือ launch screen ไปแล้วใน
สองบทความก่อนหน้า ทบทวนได้ที่
    การเปลี่ยนชื่อ App ชื่อ Package และไอคอน ใน Flutter http://niik.in/1063
 
    การกำหนด Splash screen ให้กับ app ใน Flutter http://niik.in/1064
 

 

ขั้นตอนการ Sign app

    หรือการระบุความเป็นเจ้าของ app ก่อนที่จะนำออกไปเผยแพร่ หรือลงใน Play Store เข้าใจอย่างง่าย
ก็คือการเซ็นต์ชื่อแบบดิจีทัลให้กับ app ที่เราพัฒนาขึ้นมา โดยใช้สิ่งที่เรียกว่า keystore
 

    การสร้าง Keystore

    ในการสร้าง keystore เราจะใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า keytool เป็นเครื่องมือในภาษา Java ที่ใช้สำหรับ
สร้าง key ต่างๆ เช่น Private Key, Secret Key , Public Key และอื่นๆ ทำงานผ่าน command line 
ดังนั้น ก่อนที่เราจะใช้คำสั่งนี้ได้ เราต้องทำการติดตั้ง Java Platform (JDK) 
    ถ้ายังไม่ได้ติดตั้ง ให้ทำการดาวน์โหลดและติดตั้งได้ที่ JDK
 
 
    ติดตั้งเสร็จแล้ว ปกติ windows จะอยู่ที่ path
 
    C:\Program Files\Java\jdk-17.0.1\bin
 
    ตัวเลขขึ้นกับเวอร์ชั่นที่ติดตั้ง ในตัวอย่างเป็นเวอร์ชั่น 17.0.1
 
    ให้นำ path นี้ไปกำหนดใน system variable ของเครื่อง เพื่อให้สามารถใช้งานผ่าน command line ได้
    ตัวอย่างการกำหนด
 
 


 
 
    เสร็จแล้วตรวจสอบการทำงานผ่าน command line (ถ้าเคยเปิด command line ค้างอยู่ ให้ปิดและเปิดใหม่) 
    พิมพ์ java -version
 
 


 
 
    ตอนนี้เราพร้อมใช้คำสั่ง keytool สร้าง keystore แล้ว
 

 

    คำสั่งสร้าง key store บน Windows

    เราสามารถสร้าง keystore เดียว แล้วใช้งานกับทุกๆ app ที่เราสร้าง โดยไม่จำเป็นต้องสร้าง keystore ใหม่
ทุกครั้ง และต้องเก็บไฟล์ keystore ไว้ไม่ให้ถูกเผยแพร่หรือถูกนำออกไปภายนอกได้
    สมมติในที่เรา จะสร้างไว้ที่ C:\keystore ก็จะใช้คำสั่งเป็นดังนี้
    
keytool -genkey -v -keystore c:\\keystore\\upload-keystore.jks -storetype JKS -keyalg RSA -keysize 2048 -validity 10000 -alias upload
 
 
 
    เมื่อรันคำสั่ง ก็จะให้เราใส่รหัสผ่าน สองครั้ง เวลาพิมพ์จะไม่เห็นว่ารหัสผ่านขึ้นว่าอะไร
 
 


 
 
    จากนั้นกรอกข้อมูลต่างๆ ตามที่ระบบต้องการ ถึงขึ้นตอนสุดท้าย ก็ทบทวนข้อมูลที่กรอก ถ้าถูกต้องก็ตอบ yes
จากนั้นก็จะให้เราใส่รหัสผ่านรอบใหม่ อีกสองครั้ง ใช่ค่าเดิมก็ได้ หากไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ เกิดขึ้น ก็จะได้ไฟล์
keystore ไปใช้งานดังรูป
 
 

 
 
 
    ต่อไปสร้างไฟล์ key.properties ในโปรเจ็ค flutter ของเรา
 
    android > key.properties
 

    ไฟล์ key.properties (รูปแบบ)

 
storePassword=<password from previous step>
keyPassword=<password from previous step>
keyAlias=upload
storeFile=<location of the key store file, such as /Users/<user name>/upload-keystore.jks>
 
    ของเรากรอกเป็นดังนี้
 
storePassword=123456789
keyPassword=123456789
keyAlias=upload
storeFile=c:\\keystore\\upload-keystore.jks
 


 
 
    ตอนนี้เรากำลังเตรียมความพร้อมสำหรับ build app แล้ว ก็ต้องไล่จัดการส่วนต่างๆ เริ่มที่ตัดป้ายกำกับ debug
mode ใน app ออก ในไฟล์หลักที่มีการใช้งาน 
 

    ไฟล์ main.dart (บางส่วน)

 
.....
  child: MaterialApp(
            debugShowCheckedModeBanner: false, // เอาป้าย dubug mode ออก
            theme: ThemeData(
                primarySwatch: Colors.red
            ),
.....
...
 

 

    จัดการไฟล์ manifest

    ในไฟล์ AndroidManifest.xml เราจะมาดูในเรื่องของชื่อ app ชื่อ package และการกำหนด permission
ของใช้สิทธิ์เข้าถึงการใช้งานบางอย่างจากผู้ใช้ หรือการกำหนด theme ต่างๆ ซึ่งได้อธิบายไปบ้างแล้วในหัว
ข้อที่ผ่านมา 
 
    android > app > src > main > AndroidManifest.xml
 

    ไฟล์ AndroidManifest.xml บางส่วน

 
<manifest xmlns:android="http://schemas.android.com/apk/res/android"
    package="com.example.flutter_app2">
    <uses-permission android:name="android.permission.INTERNET" />
   <application
        android:label="demo app"
        android:icon="@mipmap/ic_launcher">
        <activity
            android:name=".MainActivity"
            android:launchMode="singleTop"
            android:theme="@style/LaunchTheme"
            android:configChanges="orientation|keyboardHidden|keyboard|screenSize|smallestScreenSize|locale|layoutDirection|fontScale|screenLayout|density|uiMode"
            android:hardwareAccelerated="true"
            android:windowSoftInputMode="adjustResize">
            <!-- Specifies an Android theme to apply to this Activity as soon as
                 the Android process has started. This theme is visible to the user
                 while the Flutter UI initializes. After that, this theme continues
                 to determine the Window background behind the Flutter UI. -->
            <meta-data
              android:name="io.flutter.embedding.android.NormalTheme"
              android:resource="@style/NormalTheme"
....
....
 
    เราใช้ชื่อเป็น demo app ชื่อ package เป็น com.example.flutter_app ขอสิทธิ์เพิ่มเติมเฉพาะ
การเข้าถึงอินเตอร์เน็ต
 
<uses-permission android:name="android.permission.INTERNET" />
 
    เป็นการมาทบทวนว่าถูกต้องหรือไม่ ในที่นี้เราก็จะใช้ประมาณนี้
 

 

    ตั้งค่าการ Build app

    ต่อไปเป็นส่วนของการตั้งค่าไฟล์สำหรับกำหนดรูปแบบการ build app 
 
    android > app > build.gradle
 

    ไฟล์ build.gradle

 
    เพิ่ม ส่วนของการเรียกใช้งานไฟล์ key.properties เข้าไป
 
def keystoreProperties = new Properties()
def keystorePropertiesFile = rootProject.file('key.properties')
if (keystorePropertiesFile.exists()) {
    keystoreProperties.load(new FileInputStream(keystorePropertiesFile))
}
 
    เพิ่มประมาณตำแหน่งตามรูป
 
 

 
 
    ต่อไป comment ปิด โค้ดเดิมตามรูปด้านล่าง แล้วแทรกค่าใหม่ไปแทน
 
 

 
 
    เป็นดังนี้
 
   signingConfigs {
       release {
           keyAlias keystoreProperties['keyAlias']
           keyPassword keystoreProperties['keyPassword']
           storeFile keystoreProperties['storeFile'] ? file(keystoreProperties['storeFile']) : null
           storePassword keystoreProperties['storePassword']
       }
   }
   buildTypes {
       release {
           signingConfig signingConfigs.release
       }
   }
 
    เป็นอันเสร็จเรียบร้อยสำหรับการตั้งค่าการ build เราอาจจะทบทวนค่าต่างๆ ในไฟล์นี้เพิ่มเติได้ เช่น การ
กำหนดเวอร์ชั่น SDK ต่ำสุด - minSdkVersion การกำหนดเวอร์ชั่น SDK ที่จะ build - targetSdkVersion
ปกติก็จะใช้ค่าที่เรากำหนดแล้วในขั้นตอนการ debug ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องแก้ไขก็ได้
    หลังจากที่เราแก้ไขไฟล์ build.gradle ให้ทำการใช้คำสั่ง 2 คำสั่งด้านล่างตามลำดับ
 
flutter clean
flutter pub get
 
    เพื่อป้องกันข้อมูล cache
 


 

การ Build Android App

    เราสามารถ build app ได้ในสองรูปแบบ คือ เป็นแบบ App bundle ไฟล์นามสกุล .aab และแบบ APK ไฟล์
นามสกุล .apk  Google จะแนะนำเป็น App Bundle กรณีใช้สำหรับอัพโหลดขึ้น Play Store แต่ทั้งสองวิธีก็สามารถอัพโหลด
ขึ้น Play Store ได้เหมือนกัน ในที่นี้เราจะใช้แบบ APK  
 
    ให้เราทำการรันคำสั่งสำหรับ build apk ไฟล์ ดังนี้
 
flutter build apk --split-per-abi
 
   รอจนกว่าจะทำงานเสร็จ 
 
 


 
 
    หากไม่มีอะไรผิดพลาด เราก็จะได้ไฟล์ apk สำหรับนำไปติดตั้งใช้งานบนมือถือ หรืออัพโหลดขึ้น play store 
ได้แล้ว
 
 


 
 
    ทดสอบติดตั้ง โดยเชื่อมมือถือเข้ากับ คอมพิวเตอร์ จากนั้นใช้คำสั้ง
 
flutter install 
 


 
 
    รอสักครู่ตัว app ก็จะมาติดตั้งที่มือถือของเราพร้อมนำไปใช้งาน  หรือสามารถ copy ไฟล์ apk มาที่เครื่องแล้ว
ทำการติดตั้งเพื่อใช้งานก็ได้  ( มือถือส่วนใหญ่จะรองรับไฟล์ app-armeabi-v7a-release หรือ  ARM 32-bit )
 และเปิดใช้สิทธิ์การติดตั้ง app นอก Play Stroe ก็จะสามารถติดตั้งใช้งานได้
 
    ถึงเนื้อหานี้จะเหมือนสิ้นสุดเกี่ยวกับ flutter แต่จริงๆ แล้วเนื้อหาเกี่ยวกับ flutter ยังมีหลายส่วนที่ยังไม่ได้
พูดถึง เหตุผลที่สามบทความด้านล่าง ต้องมีมาแทรก ก็เพื่อให้มั่นใจว่า เมื่อเราพัฒนา app ขึ้นมาแล้ว จะเอาไป
ใช้งานได้อย่างไร 
 
   การเปลี่ยนชื่อ App ชื่อ Package และไอคอน ใน Flutter http://niik.in/1063
 
   การกำหนด Splash screen ให้กับ app ใน Flutter http://niik.in/1064
 
   การสร้าง Keystore และการ Build app ใน Flutter http://niik.in/1065
 
 
    หวังว่าจะเป็นแนวทางนำปรับไปประยุกต์ใช้งานต่อไป เนื้อหาตอนหน้าจะเป็นอย่างไร รอติดตาม


   เพิ่มเติมเนื้อหา ครั้งที่ 1 วันที่ 10-12-2021


การ Build app bundle

    เราได้อธิบายการ build แบบ apk ไปแล้ว ซึ่งจะเหมาะสำหรับติดตั้งนอก Play Store หรือ Store 
ที่ไม่รองรับระบบ app bundle และผู้ใช้ต้องเลือกไฟล์ที่ตรงกับ ABI (Application Binary Interface)
หรือก็คือ สถาปัตยกรรมของ CPU ของแต่ละเครื่องที่ใช้งาน ซึ่งได้แก่ armeabi-v7a (ARM 32-bit), 
arm64-v8a (ARM 64-bit) และ x86-64 (x86 64-bit)
    แต่การ build แบบ app bundle จะรวมทั้ง 3 ชนิดไฟล์ของแต่ละระบบไว้ในไฟล์เดียวกัน และมีนาม
สกุลไฟล์เป็น aab ตัว Play store จะมีระบบจัดการ app bundle ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งไฟล์ที่รองรับ
กับเครื่องที่ใช้งานได้ หลังจากที่เรา build apk ไปแล้ว เราก็สามารถ build app bundle อีกต่อได้เลย
ด้วยคำสั่งง่ายๆ ดังนี้
 
    ให้เราทำการรันคำสั่งสำหรับ build app bundle เป็น aab ไฟล์ ดังนี้
 
flutter build appbundle
 
    หรือปกติก็สามารถใช้คำสั่งสั้นเพียง flutter build ก็ได้ เพราะค่าเริ่มต้นก็จะใช้เป็น appbundle อยู่แล้ว
เท่านี้เราก็ได้ไฟล์ที่สามารถนำไปอัพโหลดขึ้นไปยัง Play store ได้แล้ว


   เพิ่มเติมเนื้อหา ครั้งที่ 2 วันที่ 10-12-2021


การจัดการเวอร์ชั่นของ App ใน Flutter

    เราสามาถจัดการเวอร์ชั่นของ app ผ่านการกำหนดค่าในไฟล์ pubspec.yaml ดูในส่วนของ
การกำหนดเวอร์ชั่นดังรูป
 

    ไฟล์ pubspec.yaml บางส่วน

 


 
 
    ค่าเริ่มต้นที่เราทำการ build ครั้งแรกเพื่อนำไปขึ้น Play Store จะเป็น 1.0.0+1 ซึ่งในค่านี้จะ
ประกอบไปด้วย versionName และ versionCode
 
    จากค่า 1.0.0+1 ค่า versionCode คือเลขหลังเครื่องหมาย + และ versionName คือเลขก่อน
เครื่องหมายบวก
 
    versionName เท่ากับ 1.0.0 ค่านี้จะแสดงให้ผู้ใช้เห็น
    versionCode เท่ากับ 1  ค่านี้จะไม่แสดงให้ผู้ใช้เห็น กำหนดค่าสูงสุดได้ไม่เกิน 2100000000
 

    การกำหนด versionName เช่น 1.3.2

 
1: (major) มีฟิเจอร์ใหม่ๆ หรือแม้แต่ปรับหน้าตา หรืออื่นๆ ที่แตกต่างชัดเจน
3: (minor) มีเพิ่มฟิเจอร์เล็กน้อย เช่น ปรับ interface นิดหน่อย หรือรวมการแก้ไข bug ทั้งหมด
2: (point หรือ bug fix) ส่วนของการแก้ไข Bug หรือข้อผิดพลาดของเวอร์ชั่นก่อนหน้า
 
    สมมติว่าเรา build app ขึ้น play store ไปแล้วในเวอร์ชั่น 1.0.0 ทีนี้มี bug ที่เราต้องแก้ไข
และอัพโหลดไปใหม่ ก็จะเป็นเวอร์ชั่นเป็น 1.0.1  และต่อมา เราอาจจะมี bug อีกสัก 3-4 ก็จะเป็น
1.0.1 - 1.0.4    และสุดท้าย คิดว่าไม่น่าจะมี bug แล้ว และอยากเพิ่มฟิเจอร์เล็กน้อยเข้า
ไปเราก็จะปรับเป็น 1.2.0  
 

    การกำหนด versionCode

    สำหรับค่าหลังเครื่องหมาย + ซึ่งเป็น versionCode ที่ไม่แสดงต่อผู้ใช้งาน เราจะต้องปรับค่านี้ใหม่
ทุกครั้งที่ build เวอร์ชั่นใหม่ เพื่ออัพโหลดขึ้น play store คือค่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อาจจะเพิ่มทีละหนึ่ง
หรือแล้วแต่ค่าที่กำหนด  ค่า versionCode ตัวระบบ Android จะใช้สำหรับป้องกันการติดตั้งแอพใน
เวอร์ชั่นที่เก่ากว่า หรือก็คือป้องกันการ downgrade จากการติดตั้งผ่านไฟล์ apk ในเวอร์ชั่นที่เก่ากว่า
ตัวอย่างการกำหนด versionCode
    1.0.0+1
    1.0.1+2
    1.2.0+3 
 
    ทั้งนี้ก็เพราะว่าเราไม่สามารถอัพโหลดไฟล์ apk หรือ aab ขึ้นไปยัง Play store ด้วยค่า versionCode
เดิมได้ ดังนั้นเวอร์ชั่น 1.2.0+3 จึงไม่ใช่มาเริ่มนับใหม่เป็น 1.2.0+1
     เมื่อต้องการสร้าง อัพเดท app ใหม่ ก่อนทำการ build ก็ให้เราทำการกำหนดค่าและเปลี่ยนค่า
เวอร์ชั่นตามรูปแบบที่แนะนำข้างต้น
    


   เพิ่มเติมเนื้อหา ครั้งที่ 3 วันที่ 17-07-2024


สิ่งที่ต้องคำนึงเสมอในการพัฒนาแอปด้วย Flutter

 
การพัฒนาแอปด้วย flutter สิ่งที่ผู้เขียนสังเกตพบคือ เมื่อใดก็ตามที่เวอร์ชั่นต่างๆ
ของส่วนที่เกี่ยวข้อง มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นเวอร์ชั่นของภาษา Dart เวอร์ชั่นของ
Flutter SDK เวอร์ชั่นของ Android SDK หรือ API Level เหล่านี้ล้วนมีผลต่อการ
พัฒนาแอปทั้งสิ้น รวมถึงนโยบายเพิ่มเติมของทาง google ที่มีอัปเดทอยู่เรื่อยๆ ดังนั้น
ถ้าเราทำการพัฒนาแอป หากต้องการให้สามารถใช้งานได้ยาวๆ เราจำเป็นจะต้องอัปเดท
ส่วนต่างๆ อยู่เสมอ รวมทั้งรูปแบบโค้ดด้วย เพราะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขื้น ไม่ว่าจะมาก
หรือน้อย ก็มีผลต่อโค้ดปัจจุบันที่เราใช้งานอยู่ ซึ่งจะมีผลในอนาคตหากไม่ได้มีการอัปเดทตาม
อย่างกรณีปัจจุบัน ณ เวลาที่อัปเดทเนื้อหาส่วนนี้ ก็มีนโยบายที่เราจะต้องกำหนดในส่วน
ของการ build หรือสร้างแอปที่มี Android API target อยู่ที่เวอร์ชั่น 14 หรือ ที่ API
Level 34 เป็นอย่างต่ำ ซึ่งก็คือ เราต้องพยายามปรับค่านี้เป็นเวอร์ชั่น หรือ Level ล่าสุดอยู่
เสมอเพื่อให้แอปของเราสามารถอัปเดทขึ้น Store ได้
    อีกส่วนก็คือเนื้อหาต่างๆ ที่ผ่านมา กรณีที่เป็นเนื้อหาเก่าเกินไป บางทีอาจจะเพียงไม่กี่ปี 
แต่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็ว รูปแบบนั้นๆ ก็อาจจะใช้ไม่ได้แล้ว หรือมีรูปแบบที่เปลี่ยนไป
สิ่งที่เราต้องทำมีดังนี้  
- พยายามอัปเดท Android SDK เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด อัปเดทผ่าน SDK Manager
- อัปเดท Flutter เวอร์ชั่นเป็นล่าสุด
- อัปเดท Dart เวอร์ชั่นเป็นล่าสุด
  ใช้คำสั้งผ่าน command line ดังนี้
 
flutter upgrade
 
   คำสั่งนี้จะตรวจสอบหาเวอร์ชั่นล่าสุดของ Flutter และ Dart SDK จากนั้น
ทำการดาวน์โหลดและติดตั้งให้โดยอัตโนมัติ
 
- การ build ไฟล์เพื่ออัปขึ้น Play Store หากปกติเราอัปเดท Android SDK 
เป็นตัวล่าสุดอยู่เสมอแล้ว ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องตั้งค่าหรือกำหนดค่าเพิ่มเติมใดๆ ก็ได้
แต่ถ้าเราต้องการกำหนดค่าเป็นตัวเลขที่ชัดเจน สามารถไปกำหนดค่าในส่วนของไฟล์
 
android > app > build.gradle
 
defaultConfig {
	// TODO: Specify your own unique Application ID (https://developer.android.com/studio/build/application-id.html).
	applicationId = "com.example.test_drive"
	// You can update the following values to match your application needs.
	// For more information, see: https://flutter.dev/to/review-gradle-config.
	minSdk = flutter.minSdkVersion
	targetSdk = flutter.targetSdkVersion
	versionCode = flutter.versionCode
	versionName = flutter.versionName
}
 
โดยค่า  minSdk คือเวอร์ชั่น ต่ำสุดที่เราต้องการให้แอปเรารองรับ และ targetSdk
คือเวอร์ชั่นเป้าหมายที่รองรับและยังทำงานได้ สมมติเราอยากให้รองรับเวอร์ชั่น 
Oreo (8.0) มีค่า API Level ที่ 26 และ Android 14 มีค่า API Level ที่ 34
ก็สามารถปรับเปลี่ยนค่าตัวเลขตามต้องการได้ ดังนี้
 
defaultConfig {
	// TODO: Specify your own unique Application ID (https://developer.android.com/studio/build/application-id.html).
	applicationId = "com.example.test_drive"
	// You can update the following values to match your application needs.
	// For more information, see: https://flutter.dev/to/review-gradle-config.
	minSdk = 26
	targetSdk = 34
	// minSdk = flutter.minSdkVersion
	// targetSdk = flutter.targetSdkVersion
	versionCode = flutter.versionCode
	versionName = flutter.versionName
}
 
สามารถดูเกี่ยวกับ Android API Level เพิ่มเติมไดที่ https://apilevels.com/


   เพิ่มเติมเนื้อหา ครั้งที่ 4 วันที่ 02-10-2024


การเลือก Flutter Channel สำหรับพัฒนาหรือใช้งาน

    ในการพัฒนาแอปด้วย flutter จะมี channel ต่างๆ ให้เราเลือกใช้งาน หรือก็คือ เราต้องการที่จะ
พ้ฒนาหรือเลือกใช้ เวอร์ชันไหนของ Flutter SDK โดยเราสามารถตรวจสอบว่าเรากำลังใช้งานใน
channel ไหนอยู่ได้ด้วยคำสั่ง command line ด้วยคำสั่งดังนี้
 
1. ตรวจสอบ channel ปัจจุบันที่ใช้งานด้วยคำสั่ง:
 
flutter channel
 
2. เปลี่ยน channel ด้วยคำสั่ง (เช่น ต้องการเปลี่ยนเป็น stable):
 
flutter channel stable
 
3. หลังจากเปลี่ยน channel แล้ว ให้รันคำสั่ง flutter upgrade เพื่ออัปเดต Flutter SDK 
บน channel นั้น
 
flutter upgrade
// หรือ ใช้ --force เพื่อบังคับลบการเปลี่ยนแปลง ไม่ต้องการเก็บไว้
flutter upgrade --force
 

Channel แต่ละตัวใช้งานเมื่อใด:

master: สำหรับผู้พัฒนาที่ต้องการทดสอบฟีเจอร์ใหม่ล่าสุด ฟีเจอร์ในช่องนี้อาจยังไม่เสถียร
main: เป็น branch พัฒนาหลัก แต่ใกล้เคียงกับ master และยังคงมีความเปลี่ยนแปลงอยู่
beta: สำหรับผู้ที่ต้องการฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่เสถียรกว่าช่อง master แต่ก็ยังอาจมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง ช่องนี้จะมีการอัปเดตบ่อยกว่าช่อง stable
stable: ช่องนี้เป็นที่แนะนำสำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ใช้ใน production เนื่องจากมีการอัปเดตน้อยกว่าแต่เสถียรและปลอดภัยมากกว่า
 

ถ้าเราจะใช้เป็น Production เราควรเปลี่ยนเป็น stable ไหม

    ควรเปลี่ยนเป็น stable ถ้าเราพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการใช้งานใน production หรือ
เผยแพร่สู่ผู้ใช้จริง เนื่องจาก:
 
ความเสถียร: ช่อง stable ได้รับการทดสอบอย่างละเอียด และเราจะได้รับการแก้ไขข้อบกพร่อง
ที่เสถียรแล้ว
ความปลอดภัย: เราจะมั่นใจได้มากขึ้นว่าแอปจะทำงานได้อย่างต่อเนื่อง และมีความเสี่ยงน้อยที่
จะพบปัญหาใหม่ๆ ที่เกิดจากฟีเจอร์ที่ยังไม่สมบูรณ์
 
การใช้ stable channel จะช่วยให้ลดความเสี่ยงและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับ production
อย่าลืมตรวจสอบหรือแก้ไขไฟล์ pubspec.yaml ให้ค่า environment: sdk: ตรงกับเวอร์ชั่นปัจจุบันที่เราใช้งาน
# of the product and file versions while build-number is used as the build suffix.
version: 1.0.0+1

environment:
  sdk: ^3.5.3

# Dependencies specify other packages that your package needs in order to work.
# To automatically upgrade your package dependencies to the latest versions
# consider running `flutter pub upgrade --major-versions`. Alternatively,
# dependencies can be manually updated by changing the version numbers below to
# the latest version available on pub.dev. To see which dependencies have newer
# versions available, run `flutter pub outdated`.
dependencies:
  flutter:
    sdk: flutter


กด Like หรือ Share เป็นกำลังใจ ให้มีบทความใหม่ๆ เรื่อยๆ น่ะครับ



อ่านต่อที่บทความ



ทบทวนบทความที่แล้ว









เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง






เนื้อหาพิเศษ เฉพาะสำหรับสมาชิก

กรุณาล็อกอิน เพื่ออ่านเนื้อหาบทความ

ยังไม่เป็นสมาชิก

สมาชิกล็อกอิน



( หรือ เข้าใช้งานผ่าน Social Login )




URL สำหรับอ้างอิง





คำแนะนำ และการใช้งาน

สมาชิก กรุณา ล็อกอินเข้าระบบ เพื่อตั้งคำถามใหม่ หรือ ตอบคำถาม สมาชิกใหม่ สมัครสมาชิกได้ที่ สมัครสมาชิก


  • ถาม-ตอบ กรุณา ล็อกอินเข้าระบบ
  • เปลี่ยน


    ( หรือ เข้าใช้งานผ่าน Social Login )







เว็บไซต์ของเราให้บริการเนื้อหาบทความสำหรับนักพัฒนา โดยพึ่งพารายได้เล็กน้อยจากการแสดงโฆษณา โปรดสนับสนุนเว็บไซต์ของเราด้วยการปิดการใช้งานตัวปิดกั้นโฆษณา (Disable Ads Blocker) ขอบคุณครับ