เนื้อหาต่อไปนี้ เราจะมาต่อยอดเล็กน้อยจากตอนที่แล้ว
โดยการเพิ่ม shimmer effect เพื่อแสดงสถานะการรอโหลด
ข้อมูล จากเดิมๆ ที่เราจะคุ้นกับวงกลมหมุนๆ ก็เพื่อความแปลกใหม่
ให้ดูหลากหลายไม่จำเจ ด้วยการใช้งานรูปแบบ shimmer
บทความนี้ใช้เนื้อหาต่อจากบทความตอนที่แล้ว
แนวทางจัดการ Layout แสดงรายการสินค้าแบบต่างๆใน Flutter http://niik.in/1110
ท้ายบทความมีโค้ดตัวอย่างให้ดาวน์โหลด
Shimmer effect คืออะไร
Shimmer effect คือเอฟเฟกต์ที่ใช้ในการแสดงตัวอย่างของข้อมูลที่ยังโหลดไม่เสร็จสมบูรณ์
หรือเพื่อแสดงพื้นที่ที่ข้อมูลกำลังจะมา โดยเอฟเฟกต์นี้จะสร้างการเคลื่อนไหวที่ดูคล้ายกับแสงที่วิ่งผ่าน
ไปมาบนพื้นหลังสีเทา เพื่อให้ผู้ใช้ทราบว่ากำลังมีการโหลดข้อมูลอยู่
ตัวอย่างที่เห็นได้บ่อยๆ ของการใช้ Shimmer effect คือในแอปพลิเคชันที่ต้องดึงข้อมูลจาก
อินเทอร์เน็ต เช่น รายการสินค้า ข่าวสาร หรือโปรไฟล์ผู้ใช้ เมื่อข้อมูลเหล่านี้ยังโหลดไม่เสร็จ
พื้นที่ที่ควรจะแสดงข้อมูลนั้นๆ จะถูกแทนที่ด้วยเอฟเฟกต์ Shimmer ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจว่า
กำลังมีการโหลดข้อมูล และลดความรู้สึกว่าการโหลดนั้นช้า
ใน Flutter สามารถใช้แพ็กเกจอย่าง shimmer เพื่อสร้างเอฟเฟกต์นี้ได้ง่ายๆ โดยแค่ใส่โค้ด
สำหรับแสดง Shimmer effect ไว้ในตำแหน่งที่ข้อมูลจริงจะปรากฏเมื่อโหลดเสร็จ
ติดตั้งก่อนใช้งานในไฟล์ pubspec.yaml
shimmer: ^3.0.0
ตัวอย่างผลลัพธ์ของ Layout แต่ละแบบในตอนที่แล้ว
ตัวอย่างผลลัพธ์ของการใช้งาน Shimmer
การใช้งาน shimmer หลักๆ แล้วก็จะเหมือนเราใช้ Container และ Sizebox รวมถึง widget
ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มาสร้างกล่อง เพื่อจำลองรูปแบบข้อมูลที่จะแสดง จากนั้นใช้ Shimmer เพื่อเพิ่ม
เอฟเฟกต์คล้ายแสงมันวาวคล้ายผ่านกล่องรายการนั้นๆ
ในที่นี้ เรามีรูปแบบ layout ด้วยกัน 4 รูปแบบ ดั้ง แต่ละ layout ก็จะมี shimmer ที่มีรูปแบบที่
แตกต่างกัน เราจึงใช้เป็นวิธีการสร้างเป็น class แยกไว้อีกส่วนหนึ่ง แล้วค่อยเรียกใช้งาน เราจะสร้าง
ไว้ในโฟลเดอร์ lib > shimmers > product_shimmer.dart
ไฟล์ product_shimmer.dart
import 'package:flutter/material.dart'; import 'package:shimmer/shimmer.dart'; import 'package:flutter_staggered_grid_view/flutter_staggered_grid_view.dart'; class ShimmerLoading1 extends StatelessWidget { const ShimmerLoading1({Key? key}) : super(key: key); @override Widget build(BuildContext context) { return SizedBox( // ปรับความสูงขางรายการทั้งหมด การ ลบค่า เพื่อให้ข้อมูลแสดงเต็มพื้นที่ // หากมี appbar ควรลบ 100 ถ้ามีส่วนอื่นเพิ่มให้บวกเพิ่มเข้าไป ตามเหมาะสม // หากไม่มี appbar ควรลบพื้นที่ที่เพิ่มเข้ามาค่าอื่นๆ ตามเหมาะสม height: MediaQuery.of(context).size.height - 136, child: ListView.builder( itemCount: 10, // แสดง 10 รายการ itemBuilder: (context, index) { return Card( margin: const EdgeInsets.all(5.0), child: Column( children: [ ListTile( leading: Shimmer.fromColors( baseColor: Colors.grey[300]!, highlightColor: Colors.grey[100]!, child: Container( width: 100.0, height: 100.0, color: Colors.white, ), ), title: Shimmer.fromColors( baseColor: Colors.grey[300]!, highlightColor: Colors.grey[100]!, child: Container( width: double.infinity, height: 20.0, color: Colors.white, ), ), subtitle: Shimmer.fromColors( baseColor: Colors.grey[300]!, highlightColor: Colors.grey[100]!, child: Container( width: double.infinity, height: 20.0, color: Colors.white, ), ), trailing: Shimmer.fromColors( baseColor: Colors.grey[300]!, highlightColor: Colors.grey[100]!, child: Icon(Icons.more_vert, color: Colors.grey), ), ), ], ), ); }, ), ); } } class ShimmerLoading2 extends StatelessWidget { const ShimmerLoading2({Key? key}) : super(key: key); @override Widget build(BuildContext context) { return SizedBox( // ปรับความสูงขางรายการทั้งหมด การ ลบค่า เพื่อให้ข้อมูลแสดงเต็มพื้นที่ // หากมี appbar ควรลบ 100 ถ้ามีส่วนอื่นเพิ่มให้บวกเพิ่มเข้าไป ตามเหมาะสม // หากไม่มี appbar ควรลบพื้นที่ที่เพิ่มเข้ามาค่าอื่นๆ ตามเหมาะสม height: MediaQuery.of(context).size.height - 136, child: ListView.separated( itemCount: 10, // จำนวนรายการ Shimmer ที่จะแสดง itemBuilder: (context, index) { return Card( margin: const EdgeInsets.all(5.0), child: Row( mainAxisAlignment: MainAxisAlignment.start, crossAxisAlignment: CrossAxisAlignment.start, children: [ Padding( padding: const EdgeInsets.all(8.0), child: Shimmer.fromColors( baseColor: Colors.grey[300]!, highlightColor: Colors.grey[100]!, child: Container( height: 100.0, width: 100.0, color: Colors.white, ), ), ), Expanded( child: Padding( padding: const EdgeInsets.all(0.0), child: Column( mainAxisAlignment: MainAxisAlignment.start, crossAxisAlignment: CrossAxisAlignment.start, children: [ Shimmer.fromColors( baseColor: Colors.grey[300]!, highlightColor: Colors.grey[100]!, child: Container( width: double.infinity, height: 20.0, color: Colors.white, ), ), const SizedBox(height: 8.0), Shimmer.fromColors( baseColor: Colors.grey[300]!, highlightColor: Colors.grey[100]!, child: Container( width: 100.0, height: 20.0, color: Colors.white, ), ), ], ), ), ), ], ), ); }, separatorBuilder: (BuildContext context, int index) => const SizedBox(), ), ); } } class ShimmerLoadingGrid extends StatelessWidget { const ShimmerLoadingGrid({Key? key}) : super(key: key); @override Widget build(BuildContext context) { return SizedBox( // ปรับความสูงขางรายการทั้งหมด การ ลบค่า เพื่อให้ข้อมูลแสดงเต็มพื้นที่ // หากมี appbar ควรลบ 100 ถ้ามีส่วนอื่นเพิ่มให้บวกเพิ่มเข้าไป ตามเหมาะสม // หากไม่มี appbar ควรลบพื้นที่ที่เพิ่มเข้ามาค่าอื่นๆ ตามเหมาะสม height: MediaQuery.of(context).size.height - 136, child: GridView.builder( padding: const EdgeInsets.all(5.0), gridDelegate: const SliverGridDelegateWithFixedCrossAxisCount( crossAxisCount: 2, // จำนวนคอลัมน์ crossAxisSpacing: 0.0, mainAxisSpacing: 0.0, childAspectRatio: 3 / 3.8, // อัตราส่วนของขนาด ), itemCount: 10, // จำนวนรายการ Shimmer ที่จะแสดง itemBuilder: (context, index) { return Card( child: Padding( padding: const EdgeInsets.all(3.0), child: Column( crossAxisAlignment: CrossAxisAlignment.start, children: [ Align( child: Shimmer.fromColors( baseColor: Colors.grey[300]!, highlightColor: Colors.grey[100]!, child: Container( height: 150, color: Colors.white, ), ), ), const SizedBox(height: 10.0), Padding( padding: const EdgeInsets.all(3.0), child: Shimmer.fromColors( baseColor: Colors.grey[300]!, highlightColor: Colors.grey[100]!, child: Container( height: 20.0, width: double.infinity, color: Colors.white, ), ), ), const SizedBox(height: 5.0), Padding( padding: const EdgeInsets.all(3.0), child: Shimmer.fromColors( baseColor: Colors.grey[300]!, highlightColor: Colors.grey[100]!, child: Container( height: 20.0, width: 80.0, color: Colors.white, ), ), ), ], ), ), ); }, ), ); } } class ShimmerLoadingMasonryGrid extends StatelessWidget { const ShimmerLoadingMasonryGrid({Key? key}) : super(key: key); @override Widget build(BuildContext context) { return SizedBox( // ปรับความสูงขางรายการทั้งหมด การ ลบค่า เพื่อให้ข้อมูลแสดงเต็มพื้นที่ // หากมี appbar ควรลบ 100 ถ้ามีส่วนอื่นเพิ่มให้บวกเพิ่มเข้าไป ตามเหมาะสม // หากไม่มี appbar ควรลบพื้นที่ที่เพิ่มเข้ามาค่าอื่นๆ ตามเหมาะสม height: MediaQuery.of(context).size.height - 136, child: MasonryGridView.builder( padding: const EdgeInsets.all(5.0), gridDelegate: const SliverSimpleGridDelegateWithFixedCrossAxisCount( crossAxisCount: 2, // จำนวนคอลัมน์ ), itemCount: 10, // จำนวนรายการ Shimmer ที่จะแสดง itemBuilder: (context, index) { return Card( child: Padding( padding: const EdgeInsets.all(3.0), child: Column( crossAxisAlignment: CrossAxisAlignment.start, children: [ Shimmer.fromColors( baseColor: Colors.grey[300]!, highlightColor: Colors.grey[100]!, child: Container( height: index % 2==0 || index % 3 == 0 ? 180 : 150, // ขนาดพื้นที่แสดงผลรูปภาพ color: Colors.white, ), ), const SizedBox(height: 10.0), Padding( padding: const EdgeInsets.all(3.0), child: Shimmer.fromColors( baseColor: Colors.grey[300]!, highlightColor: Colors.grey[100]!, child: Container( height: 20.0, width: double.infinity, color: Colors.white, ), ), ), const SizedBox(height: 5.0), Padding( padding: const EdgeInsets.all(3.0), child: Shimmer.fromColors( baseColor: Colors.grey[300]!, highlightColor: Colors.grey[100]!, child: Container( height: 20.0, width: 80.0, color: Colors.white, ), ), ), ], ), ), ); }, ), ); } }
จากนั้นในไฟล์ product.dart เราก็แค่เปลี่ยนในส่วนนี้ ตามชื่อ class และรูปแบบ layout ที่เรา
ต้องการเรียกใช้งาน
ไฟล์ product.dart โค้ดบ้างส่วน
.... // อย่าลืม import shimmer ที่สร้าง มาใช้งาน import '../shimmers/product_shimmer.dart'; .... .... .... } else if (snapshot.hasError) { return Center(child: Text('${snapshot.error}')); } // return const Center(child: CircularProgressIndicator()); return const ShimmerLoadingMasonryGrid(); }, ), ], ......
จากเดิม เราใช้งานเป็น
const Center(child: CircularProgressIndicator())
ก็เปลี่ยนเป็นรูปแบบ shimmer ที่สัมพันธ์กับ layout ที่เราแสดงข้อมูล ซึ่งก็จะมี
// class จากไฟล์ product_shimmer.dart const ShimmerLoading1(); const ShimmerLoading2(); const ShimmerLoadingGrid(); const ShimmerLoadingMasonryGrid();
การสร้างเป็นไฟล์แยก จะทำให้โค้ดของโปรแกรมหลักของเราจะไม่ดูรกเกินไป และทำให้จัดการแก้ไข
รูปแบบการแสดงได้ง่ายขึ้น เท่านี้เราก็สามารถสร้าง shimmer effect ให้กับการรอโหลดข้อมูลได้
อย่างง่ายดาย