รู้จักกับ Firebase และการสร้างโปรเจ็คเบื้องต้น ตอนที่ 1

เขียนเมื่อ 4 ปีก่อน โดย Ninenik Narkdee
firebase

คำสั่ง การ กำหนด รูปแบบ ตัวอย่าง เทคนิค ลูกเล่น การประยุกต์ การใช้งาน เกี่ยวกับ firebase

ดูแล้ว 7,991 ครั้ง


หลายคนคงเคยได้ยิน Firebase และบางคนก็อาจจะ
ใช้งานเป็นประจำอยู่แล้ว เนื้อหาเกี่ยวกับ Firebase ต่อไปนี้
จะขอเป็นเนื้อหาแบบกระชับ ที่พูดถึงการเริ่่มใช้งาน Firebase
เพื่อไว้สำหรับอ้างอิง กรณีมีบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งาน
หรือการประยุกต์ร่วมกับ Firebase 
    สามารถสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งาน Firebase จากแหล่งข้อมูล
อื่นเพิ่มเติม คิดว่าน่าจะมีหลายท่านเขียนอธิบายไว้หมดแล้ว
 
 

Firebase คืออะไร

    ให้เราเข้าไปที่เว็บไซต์ Firebase  ซึ่งในความเข้าใจก็คือ แหล่งที่รวมเครื่องมือ
ตัวช่วย ทรัพยากร สิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับนักพัฒนาไม่ว่าจะเป็น Mobile Application หรือ 
Web Developer ให้สามารถสร้าง ใช้งาน จัดการ และพัฒนาปรับแต่ง App ทั้ง Mobile และ Web
อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ลดขั้นตอนบางอย่างในขั้นตอนการเตรียมการเริ่มต้น สามารถโฟกัสไปที่
การพัฒนาตัว App เป็นหลัก
 
 

เครื่องมือสำหรับใช้งานร่วมกับ Firebase

    ในการใช้งาน Firebase ส่วนใหญ่เราสามารถจัดการผ่านเว็บไซต์ของ Firebase แต่ก็มีบางส่วนที่เราจำเป็นต้อง
ใช้งานผ่าน command line รวมถึง การจัดการ package ต่างๆ ที่จะใช้งาน ดังนั้น เครื่องมือต่อไปนี้ จะช่วนให้เรา
ใช้งาน Firebase ได้สะดวกขึ้น
    - โปรแกรม Code Editor เช่น VSCode เป็นต้น 
    - โปรแกรม NodeJs สำหรับจัดการ Package ผ่าน Command line 
 
 

สร้างโปรเจ็ค Firebase

    ให้เข้าไปยังเว็บไซต์ Firebase Console ล็อกอินเข้าใช้งานด้วยบัญชี Google
    ในที่นี้เราจะสร้างโปรเจ็คใหม่ ให้กดที่ปุ่ม Add Project เพื่อสร้างโปรเจ็คใหม่ ใช้ชื่อ project name เป็น "WEB-FIREBASE"
หรือใช้ชื่อตามต้องการ หรือกรณีต้องการใช้งานโปรเจ็ค เดิมที่มีอยู่แล้ว ก็สามารถเลือกโปรเจ็ค ที่ต้องการได้
ทำตามขั้นตอน step 1 - 3 เรียบร้อยถึงขั้นตอนสุดท้าย เลือก "create project" รอสักครู่จะระบบทำงานเสร็จ
 

 
 
    หลังจากำการสร้างโปรเจ็คแล้ว เราจะได้หน้าตาแรกของโปรเจ็คดังรูปด้านล่าง
 
 

 
 
    ตอนนี้เราใช้งานเป็นแบบ Spark plans ซึ่งฟรี ดูรายละเอียด คลิก Spark Plan 
    
 

 
 
    หัวข้อเมนูฝั่งซ้าย จะเหมือนเป็นวัตถุประสงค์ ในการใช้งาน Firebase เพื่อให้เราจัดการ App ได้ถูกต้อง เช่น ในส่วนของ
Develop ที่มีการจัดการต่างๆ ที่ใช้ในการพัฒนา App มาใช้งาน อย่าง Database Storage และ Hosting เป็นต้น
 
 

 
 
เมื่อเราพัฒนา App เรียบร้อย เราก็มองต่อไปว่า App ของเราจะต้องมีคุณภาพ มีประสิทธิภาพในการทำงาน เราก็สามารถเข้ามาดู
ในส่วนของหัวข้อ Quality เลือกการจัดการที่ต้องการ อย่าง Crashlytics และ Performance 
 
 

 
 
เมื่อ App ของเราได้รับความนิยม มีการใช้งานจากผู้ใช้จำนวนมากขึ้น เราก็อยากจะวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ และข้อมูล
อื่นๆ จากผู้ใช้มาช่วยในการตัดสินใจพัฒนา App เพิ่มเติม จากเมนู Analytics
 
 

 
 
เมื่อ App ของเราพัฒนาไปด้วยดี เราก็มองถึงความก้าวหน้าหรือการเติบโตของ App ต่อไป เช่น อาจจะต้องการสร้างรายได้ มีระบบ
โฆษณาเข้ามา AdMob หรือต้องการเพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานมากขึ้นด้วยการส่งข้อความแจ้งเตือน หรือแนะนำข้อเสนอพิเศษ
เพิ่มเติมให้ผู้ใช้งาน Cloud Messaging จากเมนู Grow
 
 

 
 
    จะเห็นว่า Firebase เตรียมเครื่องมือ ตัวช่วย ทรัพยากร และความสะดวกในการจัดการต่างๆ ให้กับนักพัฒนาได้อย่างเป็นระเบียบขั้นตอน
ทำให้นักพัฒนาโฟกัสไปที่ตัว App ในขั้นตอนเริ่มต้นเป็นหลัก หมดกังวลในเรื่องของการนำไปใช้งานในขั้นตอนของ Production
 
    ในตอนนี้ ก็ขอเริ่มต้นคร่าวๆ เกี่ยวกับ Firebase เพียงเท่านี้ รอติดตามในตอนต่อๆ ไป


กด Like หรือ Share เป็นกำลังใจ ให้มีบทความใหม่ๆ เรื่อยๆ น่ะครับ



อ่านต่อที่บทความ









เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง



Tags:: firebase







URL สำหรับอ้างอิง





คำแนะนำ และการใช้งาน

สมาชิก กรุณา ล็อกอินเข้าระบบ เพื่อตั้งคำถามใหม่ หรือ ตอบคำถาม สมาชิกใหม่ สมัครสมาชิกได้ที่ สมัครสมาชิก


  • ถาม-ตอบ กรุณา ล็อกอินเข้าระบบ
  • เปลี่ยน


    ( หรือ เข้าใช้งานผ่าน Social Login )







เว็บไซต์ของเราให้บริการเนื้อหาบทความสำหรับนักพัฒนา โดยพึ่งพารายได้เล็กน้อยจากการแสดงโฆษณา โปรดสนับสนุนเว็บไซต์ของเราด้วยการปิดการใช้งานตัวปิดกั้นโฆษณา (Disable Ads Blocker) ขอบคุณครับ