สำหรับคนที่ต้องการ เพิ่มความสะดวกในการใช้งานคำสั่ง sql ที่ใช้บ่อย เช่น การ insert update หรือ
delete ข้อมูล มีเนื้อหาในการลดขั้นตอนและความยุ่งยาก ในการใช้คำสั่งเหล่านี้ สามารถเข้าไปอ่าน และศึกษาวิธีการใช้งานได้จาก เว็บไซต์ต้นฉบับที่
http://www.jdmweb.com/resources/favmysql ภาษาอังกฤษ
และถ้าหากต้องการความสะดวกที่มากกว่า ดาวน์โหลดไฟล์ พร้อมปรับใช้งาน ได้ที่
https://www.ninenik.com/download/db_connect.rar
หลังจากดาวน์โหลดแล้วให้แตกไฟล์ และก็อบปี้ไฟล์ db_connect.php ไว้ใช้งาน
ในไฟล์ข้างต้นประกอบด้วย ฟังก์ชั่นต่างๆ ให้ปรับแก้ ข้อมูลการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล ในฟังก์ชัน
connect() ในตำแหน่งดังโค้ดด้านล่าง
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 | // ฟังก์ชันสำหรับเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล function connect() { // เริ่มต้นส่วนกำหนดการเชิ่อมต่อฐานข้อมูล // $HOST = "localhost" ; // ชื่อ server หรือ domain name ปกติใช้ localhost $PORT = "" ; // กำหนดหรือไม่ก็ได้ $DB_USER = "root" ; // ชื้อผู้ใช้ $DB_PWD = "test" ; // รหัสผ่าน $DB_NAME = "test" ; // ชื่อฐานข้อมูล // สิ้นสุุดส่วนกำหนดการเชิ่อมต่อฐานข้อมูล // $DB_HOST =(! empty ( $PORT )) ? $HOST . ":" . $PORT : $HOST ; if (@mysql_connect( $DB_HOST , $DB_USER , $DB_PWD )){ $conServ =@mysql_select_db( $DB_NAME ) or die ( "SQL Error: <br>" .mysql_error()); } else { die ( "SQL Error: <br>" .mysql_error()); } } |
หลังจากกำหนดค่าเรียบร้อยแล้ว เราจะได้ไฟล์ db_connect.php สำหรับใช้งาน
โดยในไฟล์ db_connect.php ประกอบไปด้วยฟังก์ชัน
// ฟังก์ชันสำหรับเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล
function connect()
// ฟังก์ชันสำหรับคิวรี่คำสั่ง sql
function query($sql)
// ฟังก์ชัน select ข้อมูลในฐานข้อมูลมาแสดง
function select($sql)
// ฟังก์ชันสำหรับการ insert ข้อมูล
function insert($table,$data)
// ฟังก์ชันสำหรับการ update ข้อมูล
function update($table,$data,$where)
// ฟังก์ชันสำหรับการ delete ข้อมูล
function delete($table, $where)
// ฟังก์ชันสำหรับแสดงรายการฟิลด์ในตาราง
function listfield($table)
ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน query() สำหรับ set character set ให้กับฐานข้อมูลที่ดึงมาแสดง
1 2 3 4 5 6 | <?php include ( "db_connect.php" ); // incude ครั้งเดียวในไฟล์ที่เรียกใช้งาน connect(); // เชื่อมต่อกับฐานข้อมูล $sql = "SET CHARACTER SET UTF8" ; query( $sql ); ?> |
ตัวอย่างการใช้งานคำสั่ง select() สำหรับดึงข้อมูลมาแสดง ใช้ได้ทั้งดึงข้อมูลมาแค่ รายการเดียว หรือวนลูปแสดงข้อมูล
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 | <?php include ( "db_connect.php" ); // incude ครั้งเดียวในไฟล์ที่เรียกใช้งาน connect(); // เชื่อมต่อกับฐานข้อมูล $sql = "SELECT * FROM province_tmp ORDER BY province_id DESC LIMIT 2" ; $qr =select( $sql ); // select ข้อมูลในฐานข้อมูลมาแสดง $total = count ( $qr ); // จำนวนรายการทั้งหมด ที่ select $i =0; // จำเป็นต้องกำหนด while ( $i < count ( $qr )) // วนลูปแสดงข้อมูล { $rs = $qr [ $i ]; // จำเป็นต้องกำหนด echo $rs [ 'province_id' ]. "<br>" ; echo $rs [ 'province_name' ]. "<br>" ; echo $rs [ 'province_lat' ]. "<br>" ; echo $rs [ 'province_lon' ]. "<br><hr>" ; $i ++; // จำเป็นต้องกำหนด } ?> |
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 | <?php include ( "db_connect.php" ); // incude ครั้งเดียวในไฟล์ที่เรียกใช้งาน connect(); // เชื่อมต่อกับฐานข้อมูล $sql = "SELECT * FROM province_tmp ORDER BY province_id DESC LIMIT 2" ; $qr =select( $sql ); // select ข้อมูลในฐานข้อมูลมาแสดง กรณีดึงมาแค่รายการแรกรายการเดียว $rs = $qr [0]; // จำเป็นต้องกำหนด echo $rs [ 'province_id' ]. "<br>" ; echo $rs [ 'province_name' ]. "<br>" ; echo $rs [ 'province_lat' ]. "<br>" ; echo $rs [ 'province_lon' ]. "<br><hr>" ; ?> |
ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน listfield() สำหรับแสดงฃื่อฟิลด์ของตารางที่ต้องการ ส่วนนี้เป็นฟังก์ชัน
ที่เพิ่มเติมจากต้นฉบับ สร้างตัวแปร array ไว้ใช้งานกับ ฟังก์ชัน insert และ update
1 2 3 4 5 6 7 | <?php include ( "db_connect.php" ); // incude ครั้งเดียวในไฟล์ที่เรียกใช้งาน connect(); // เชื่อมต่อกับฐานข้อมูล listfield( "province_tmp" ); // province_tmp คือชื่อตารางที่ต้องการ แสดงชื่อฟิลด์ // เมื่อได้ค่าที่ต้องการแล้วให้ comment คำสั่งนี้ไว้ // listfield("province_tmp"); ?> |
เมื่อเราเรียกใช้คำสั่งนี้จะได้ echo รูปแบบข้อความต่อไปนี้
1 2 3 4 5 6 7 | $data = array ( "province_id" => "value0" , "province_name" => "value1" , "province_lat" => "value2" , "province_lon" => "value3" , "province_zoom" => "value4" , ); |
เราสามารถก็อบปี้รูปแบบนี้ไปใช้ในฟังก์ชัน insert และ update เมื่อได้ค่าที่ต้องการเราก็ปิดฟังก์นี้ไป
ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน insert() สำหรับเพิ่มข้อมูลในฐานข้อมูล
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 | <?php include ( "db_connect.php" ); // incude ครั้งเดียวในไฟล์ที่เรียกใช้งาน connect(); // เชื่อมต่อกับฐานข้อมูล $data = array ( "province_name" => $_POST [ 'test' ], "province_lat" => "10.0015414" , "province_lon" =>time(), ); // insert ข้อมูลลงในตาราง province_tmp โดยฃื่อฟิลด์ และค่าตามตัวแปร array ชื่อ $data insert( "province_tmp" , $data ) // province_tmp คือชื่อตาราง ?> |
ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน update() สำหรับอัพเดทข้อมูลในฐานข้อมูล
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 | <?php include ( "db_connect.php" ); // incude ครั้งเดียวในไฟล์ที่เรียกใช้งาน connect(); // เชื่อมต่อกับฐานข้อมูล $data = array ( "province_name" => "update value1" , "province_lat" => "update value2" , "province_lon" => "update value3" , ); // update ข้อมูลในตาราง province_tmp โดยฃื่อฟิลด์ และค่าตามตัวแปร array ชื่อ $data // เงื่อนไขคือ province_id=77 update( "province_tmp" , $data , "province_id=77" ) //update("province_tmp",$data,"province_id=".$_POST['id']) ?> |
ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน delete() สำหรับลบ ข้อมูลในฐานข้อมูล
1 2 3 4 5 6 7 8 | <?php include ( "db_connect.php" ); // incude ครั้งเดียวในไฟล์ที่เรียกใช้งาน connect(); // เชื่อมต่อกับฐานข้อมูล // delete ข้อมูลในตาราง province_tmp // เงื่อนไขคือ province_id=77 delete ( "province_tmp" , "province_id=77" ) // delete("province_tmp","province_id=".$_POST['id']) ?> |