ทำความรู้จักกับ Angular modules เบื้องต้นอย่างง่าย

เขียนเมื่อ 7 ปีก่อน โดย Ninenik Narkdee
angular library angular module angular module

คำสั่ง การ กำหนด รูปแบบ ตัวอย่าง เทคนิค ลูกเล่น การประยุกต์ การใช้งาน เกี่ยวกับ angular library angular module angular module

ดูแล้ว 15,351 ครั้ง


สำหรับเนื้อตอนนี้ เรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับ modules ใน Angular เบื้องต้นจาก
ไฟล์ต้วอย่างจากเนื้อหาตอนที่แล้ว
 
เตรียมความพร้อมและเริ่มต้นศึกษา Angular เบื้องต้น 
 

ให้เราเปิดไฟล์ app.module.ts และสังเกตโค้ดตามรุปด้านล่าง (*เวอร์ชั่นใหม่ๆ อาจะต่างเล็กน้อย แต่เนื้อหาเดียวกัน)
 
 

 
 
จากรูปตัวอย่างโค้ดเราจะเห็นระบบ modules สองระบบคือ 
ระบบ JavaScript modules กับ ระบบ Angular modules โดยในการเขียน app 
เราจะต้องใช้ทั้งสองรูปแบบร่วมกัน 
ใน Angular app ใดๆ จะต้องมี Angular module class ที่เป็น root module
อย่างน้อย 1 module และในไฟล์ app.modules.ts นี้ root module ก็คือ 
class ที่เรียกว่า AppModule
 
เรามาดูในส่วนของ Angular module ก็จะพบว่า ไม่ว่าจะเป็น root module หรือ
module พิเศษใดๆ ก็จะมี class ที่เป็น @NgModule เป็น decorator
 
@NgModule({
  imports:      [ BrowserModule ],
  declarations: [ AppComponent ],
  bootstrap:    [ AppComponent ]
})
// แบบนี้เรียก @NgModule ว่าเป็น Module decorator 
 
decorator คือคำที่ใช้เรียกฟังก์ชั่นที่ใช้ในการปรับรูปแบบ JavaScript classes
 
// ตัวอย่าง Component decorator 
@Component({
  selector: 'my-app',
  template: `<h1>Hello {{name}}</h1>`,
})
// แบบนี้เรียก @Component ว่าเป็น Component decorator 
 
สำหรับ NgModule จะเป็น decorator ที่มีชุดข้อมูล Object หนึ่งอันอยู่ในภายใน
และมี property อธิบายเกี่ยวกับ module นั้นๆ 
 
{
  imports:      [ BrowserModule ],
  declarations: [ AppComponent ],
  bootstrap:    [ AppComponent ]
}
 
นี้คือส่วนของ Object  โดยมี imports, declarations, bootstrap เป็น property 
ของ Object อีกที โดย property ที่สำคัญจะขอยกตัวอย่างและอธิบายไปพร้อมกับ
โค้ดด้านล่าง
 
เรามาดูตัวอย่างโค้ดไฟล์ที่เป็น root module ประกอบคำอธิบาย
 
import { NgModule }      from '@angular/core';
import { BrowserModule } from '@angular/platform-browser';
@NgModule({
  imports:      [ BrowserModule ],
  providers:    [ Logger ],
  declarations: [ AppComponent ],
  exports:      [ AppComponent ],
  bootstrap:    [ AppComponent ]
})
export class AppModule { }
 
แยกส่วนของ Object ใน NgModule เพื่ออธิบายส่วนของ property ได้ดังนี้
 
{
  imports:      [ BrowserModule ],
  providers:    [ Logger ],
  declarations: [ AppComponent ],
  exports:      [ AppComponent ],
  bootstrap:    [ AppComponent ]
}
 

declarations

สำหรับกำหนด class ที่จะใช้ใน module นี้ โดยใน Angular จะมีด้วย
class 3 ประเภท ได้แก่ components, directives และ pipes โดยในตัวอย่าง
จะเป็น component class ที่ชื่อ AppComponent  ถ้าเรามีการสร้าง component class
เพิ่ม เราต้องมาเพิ่ม ชื่อ class เข้าไปในส่วนนี้ด้วย สมมติ เราสร้าง class ชื่อ 
UserComponent เราก็จะเพิ่มเป็น
 
  declarations: [ AppComponent, UserComponent ],
 

exports  

สำหรับนำ class ที่กำหนดใน declarations ที่ถูกเรียกใช้ผ่าน component templates ของ module อื่น ซึ่งปกติแล้วใน root module
ไม่จำเป็นต้อง export เพราะไม่มี ความจำเป็นที่ components อื่นจะต้อง import root module แต่ยกมาอธิบาย
ถึงวิธีการใช้งาน กรณีต้องใช้กับ module อื่นๆ ที่ไม่ใช่ root

imports

สำหรับเรียกใช้ class ที่ export จาก module อื่นที่ถูกเรียกใช้งานผ่าน component templates ใน module นี้
 

providers

สำหรับกำหนด services ที่ module จะนำไปใช้ โดยสามารถเรียกใช้จากทุกๆ ส่วน ของ app นี้
 

bootstrap

สำหรับกำหนด root component เรียกได้ว่าเป็นหน้าหลักของ app ที่จะเชื่อมโยงไปหน้าอื่นๆ ใน app ได้ โดย property นี้จะกำหนดได้เฉพาะใน root module เท่านั้น
 
 
เมื่อเรารู้จักกับ module ใน Angular เบื้องต้นแล้ว เรามาดูว่า ไฟล์ app.module.ts
ที่เป็น root module นั้น ถูกเรียกใช้งานได้อย่างไร 
โค้ดบรรทัดสุดท้ายในไฟล์ app.module.ts จะมีการใช้คำสั่ง export class 
 
export class AppModule { }
 
ซึ่งคำสั่ง export เป็นรูปแบบ JavaScript module ที่ทำให้ class ที่ชื่อ AppModule เป็น 
Public Object แล้วทำการ import และเรียกใช้จากไฟล์ main.ts 
 
ตัวอย่างโค้ดไฟล์ main.ts ดังรูป 
 
 

 
 

Angular libraries

ก่อนจบส่วนของ Angular module เบื้องต้น เรามาดูตัวอย่าง Angular libraries
ที่ถูก import มาใช้งานใน app สังเกตว่า Angular libraries แต่ละตัวจะขึ้นต้นด้วย
@angular ดังโค้ดตัวอย่าง ในไฟล์ app.module.ts และ main.ts
 
import { NgModule }      from '@angular/core';
import { BrowserModule } from '@angular/platform-browser';
 
import { platformBrowserDynamic } from '@angular/platform-browser-dynamic';
 
และถ้าสังเกตให้ดี จะเห็นความสัมพันธ์ของการใช้งานระบบ Angular module กับ
ระบบ JavaScript module ตามรูป ตำแหน่งโค้ดที่ 1 
มีการ import Angular modules จาก Angular libraries โดยใช้คำสั่ง import ในระบบ  JavaScript module 
และเมื่อมีการ import Angular modules ที่ชื่อ BrowserModule เข้ามา เวลานำไปใช้งาน module นั้น ใน NgModule ก็ได้กำหนดชุดข้อมูล การ imports
ในระบบ Angular module ตามรูปตำแหน่งโค้ดที่ 2
 
 

 
 
เมื่อเราเข้าใจการ import, export และ imports, exports จากสองระบบ ตามที่อธิบาย
ข้างต้นแล้ว ก็อาจจะช่วยลดความสับสนลง และเข้าใจโค้ดเพิ่มขึ้น
 


กด Like หรือ Share เป็นกำลังใจ ให้มีบทความใหม่ๆ เรื่อยๆ น่ะครับ



อ่านต่อที่บทความ









เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง









URL สำหรับอ้างอิง





คำแนะนำ และการใช้งาน

สมาชิก กรุณา ล็อกอินเข้าระบบ เพื่อตั้งคำถามใหม่ หรือ ตอบคำถาม สมาชิกใหม่ สมัครสมาชิกได้ที่ สมัครสมาชิก


  • ถาม-ตอบ กรุณา ล็อกอินเข้าระบบ
  • เปลี่ยน


    ( หรือ เข้าใช้งานผ่าน Social Login )







เว็บไซต์ของเราให้บริการเนื้อหาบทความสำหรับนักพัฒนา โดยพึ่งพารายได้เล็กน้อยจากการแสดงโฆษณา โปรดสนับสนุนเว็บไซต์ของเราด้วยการปิดการใช้งานตัวปิดกั้นโฆษณา (Disable Ads Blocker) ขอบคุณครับ