การใช้งาน Container ร่วมกับ Slim framework 4

เขียนเมื่อ 3 ปีก่อน โดย Ninenik Narkdee
container slim framework errorhandler php

คำสั่ง การ กำหนด รูปแบบ ตัวอย่าง เทคนิค ลูกเล่น การประยุกต์ การใช้งาน เกี่ยวกับ container slim framework errorhandler php

ดูแล้ว 3,749 ครั้ง


เนื้อหาตอนต่อไปนี้เราจะมาดูเกี่ยวกับ Container 
ส่วนจัดการเสริมเพิ่มเติมสำหรับ นำเอาโปรแกรมการทำงาน
จากภายนอก มาใช้ร่วมกับ slim หรืออาจจะเรียกว่าเป็น
dependency injection ก็ได้ ใน Slim จะรองรับ container ใน
รูปแบบ PSR-11 เช่น PHP-DI 
    แต่ในที่นี้เราจะใช้เป็นตัว League Container 
 
 

ติดตั้ง League Container

    ให้ทำการติดตั้ง League Container ผ่าน composer ดังนี้
 
composer require league/container
 
    เวลาเรียกใช้จะรวมอยู่ใน autoload แล้วสามารถนำไปใช้งานได้เลย
 
 

การใช้งาน League Container

    ทำการสร้าง instance สำหรับ Container และกำหนดการใช้งานร่วมกับ app จะกำหนดไว้ก่อนคำสั่ง
create() ตามตัวอย่างด้านล่าง
 
// สร้าง Container โดยใช้ League Container
$container = new League\Container\Container();

// กำหนดการใช้ Container สำหรับร่วมกับการสร้าง app
Slim\Factory\AppFactory::setContainer($container);
$app = AppFactory::create();
 
    ต่อไปกำหนด service ที่ต้องการใช้งานเข้าไปใน container ในที่จะใช้เป็นส่วนของการทำงานร่วมกับฐาน
ข้อมูล MySQL โดยการกำหนด service จะใช้คำสั่ง add() ดังนี้
 
// กำหนด service ให้กับ container
$container->add('db', function () {
    $mysqli = new mysqli("localhost", "root","","test");  
    if ($mysqli->connect_errno) exit();
    if (!$mysqli->set_charset("utf8")) exit();  
    return $mysqli;
});
 
    เราสามารถเรียกใช้งานใน route หรือ middleware ได้ด้วยคำสั่ง $this->get() ดังนี้
 
$app->get('/home', function (Request $request, Response $response, $args) {  
    $db = $this->get('db');
    $response->getBody()->write('Welcome');   
    return $response;
});
 
    หรือกรณีต้องการตรวจสอบค่าก่อนว่ามีหรือไม่ ก็สามารถใช้คำสั่ง has() ดังนี้
 
$app->get('/home', function (Request $request, Response $response, $args) {  
    if ($this->has('db')) {
        $db = $this->get('db');
    }
    $response->getBody()->write('Welcome');   
    return $response;
});
 
 
 

ตัวอย่างประยุกต์การใช้งาน Container

    เราจะทำการสร้าง REST API อย่างง่ายเป็นข้อมูลจังหวัดในประเทศไทย ใช้ตัวอย่างข้อมูล
จากฐานข้อมูลตามลิ้งค์นี้ http://niik.in/que_2398_6277
 

    ไฟล์ index.php

 
<?php
use Psr\Http\Message\ResponseInterface as Response;
use Psr\Http\Message\ServerRequestInterface as Request;
use Slim\Factory\AppFactory;
use Psr\Http\Message\ServerRequestInterface;
use Psr\Log\LoggerInterface;

require __DIR__ . '/./vendor/autoload.php';

// สร้าง Container โดยใช้ League Container
$container = new League\Container\Container();

// กำหนดการใช้ Container สำหรับร่วมกับการสร้าง app
Slim\Factory\AppFactory::setContainer($container);
$app = AppFactory::create();
$app->setBasePath('/demo/api');

// กำหนด service ให้กับ container
$container->add('db', function () {
    $mysqli = new mysqli("localhost", "root","","test");  
    if ($mysqli->connect_errno) exit();
    if (!$mysqli->set_charset("utf8")) exit();  
    return $mysqli;
});


// กำหนดรุปแบบ Error Handler เอง
$customErrorHandler = function (
    ServerRequestInterface $request,
    Throwable $exception,
    bool $displayErrorDetails,
    bool $logErrors,
    bool $logErrorDetails,
    ?LoggerInterface $logger = null
) use ($app) {

    $payload = ['error' => $exception->getMessage()];

    $response = $app->getResponseFactory()->createResponse();
    $response->getBody()->write(
        json_encode($payload, JSON_UNESCAPED_UNICODE)
    );
    return $response
              ->withHeader('Content-Type', 'application/json');
};
// Error Middleware
$errorMiddleware = $app->addErrorMiddleware(false, true, true);
$errorMiddleware->setDefaultErrorHandler($customErrorHandler); // เรียกใช้งานรูปแบบที่กำหนด


// Routing
$app->get('/province[/{id:[[:digit:]]+}]', function (Request $request, Response $response, $args) {
    $data = [];
    if ($this->has('db')) {
        $db = $this->get('db');
        $sql = "
        SELECT * FROM tbl_provinces WHERE 1 
        ";
        if(isset($args['id'])){ // ถ้าระบุ id จังหวัด
            $sql.= " AND province_id='".(int)$args['id']."' ";
        }
        $result = $db->query($sql);
        if( $result && $result->num_rows > 0 ){
            $data = $result->fetch_all(MYSQLI_ASSOC);
        }
    }
    $payload = json_encode($data);
 
    $response->getBody()->write($payload);
    return $response
              ->withHeader('Content-Type', 'application/json');
});


$app->run();
 
    
    ในตัวอย่างเราใช้งาน container สำหรับสร้าง service ที่เชื่อมต่อกับฐานข้อมูล จากนั้นเรียกใช้งานใน route
ทำการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล แล้วส่งออกเป็นข้อมูล JSON String data  
    เรามีการกำหนดการสร้างรูปแบบ error middleware แบบกำหนดเอง เพื่อให้แสดงข้อมูลกรณี error ในรูปแบบ
ข้อมูล JSON String data ดูตัวอย่างผลลัพธ์การทำงาน ดังนี้
 
    ผลลัพธ์ที่ได้
 
 


 
 
    แสดงข้อมูลทั้งหมด 77 จังหวัด เมื่อเรียกไปยัง /province
    แสดงข้อมูลเฉพาะจังหวัด id เท่ากับ 1 /province/1
    แสดงข้อมูลเฉพาะจังหวัด id เท่ากับ 77 /province/77
    แสดงข้อมูลว่าง ไม่มีจังหวัด id เท่ากับ 78 /province/78
    แสดง error ไม่มีหน้าที่ตรงตามที่ระบุ /province/data
 
    เนื้อหาเกี่ยวกับ Container ที่ใช้งานร่วมกับ slim ก็จะประมาณนี้ เป็นแนวทางนำปรับไปใช้งานต่อๆ ไป
เนื้อหาตอนหน้าจะเป็นอะไรรอติดตาม


กด Like หรือ Share เป็นกำลังใจ ให้มีบทความใหม่ๆ เรื่อยๆ น่ะครับ



อ่านต่อที่บทความ









เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง









URL สำหรับอ้างอิง





คำแนะนำ และการใช้งาน

สมาชิก กรุณา ล็อกอินเข้าระบบ เพื่อตั้งคำถามใหม่ หรือ ตอบคำถาม สมาชิกใหม่ สมัครสมาชิกได้ที่ สมัครสมาชิก


  • ถาม-ตอบ กรุณา ล็อกอินเข้าระบบ
  • เปลี่ยน


    ( หรือ เข้าใช้งานผ่าน Social Login )







เว็บไซต์ของเราให้บริการเนื้อหาบทความสำหรับนักพัฒนา โดยพึ่งพารายได้เล็กน้อยจากการแสดงโฆษณา โปรดสนับสนุนเว็บไซต์ของเราด้วยการปิดการใช้งานตัวปิดกั้นโฆษณา (Disable Ads Blocker) ขอบคุณครับ