ใช้ฟังก์ชัน concat()
concat() ใช้สำหรับสร้างตัวแปร array
ใหม่จาก การรวมตัวแปร array ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป โดยที่ตัวแปร array ที่นำมา
รวมกันนั้น ยังเหมือนเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ
// ตัวอย่าง กรณ๊รวมตัวแปร array 2 ตัว var alpha = ["a", "b", "c"]; var numeric = [1, 2, 3]; var alphaNumeric = alpha.concat(numeric); // สร้าง array ["a", "b", "c", 1, 2, 3]; โดยที่ array ชื่อ alpha และ numeric ไม่มีการเปลี่ยนแปลง // ตัวแปร array ใหม่ที่ได้คือ ชื่อ alphaNumeric มีค่าเท่ากับ ["a", "b", "c", 1, 2, 3];
// ตัวอย่าง กรณ๊รวมตัวแปร array 3 ตัว var num1 = [1, 2, 3]; var num2 = [4, 5, 6]; var num3 = [7, 8, 9]; var nums = num1.concat(num2, num3); // สร้าง array [1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9]; โดยที่ num1, num2, num3 ไม่มีการเปลี่ยนแปลง // ตัวแปร array ใหม่ที่ได้คือ ชื่อ nums มีค่าเท่ากับ [1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9];
// ตัวอย่าง กรณีรวมตัวแปร array กับค่าที่ต้องการ var alpha = ['a', 'b', 'c']; var alphaNumeric = alpha.concat(1, [2, 3]); // สร้าง array ["a", "b", "c", 1, 2, 3], โดยที่ alpha ไม่มีการเปลี่ยนแปลง // ตัวแปร array ใหม่ที่ได้คือ ชื่อ alphaNumeric มีค่าเท่ากับ ["a", "b", "c", 1, 2, 3];
ใช้ฟังก์ชัน join()
join() ใช้สำหรับ การนำค่าแต่ละค่าในตัวแปร array มารวมกันเป็นข้อความ และส่งค่ากลับเป็นข้อความ ที่มีตัวคั่นค่าตัวแปรแต่ละค่า ตามที่กำหนด ถ้าไม่ได้กำหนด จะเป็นเครื่องหมาย comma (,) ให้โดยอัตโนมัติ
//ตัวอย่างการใช้งาน var cars=["Toyota","Honda","Isuzu"]; // ตัวแปร array var carsUseJoin=cars.join(); // ไม่ได้กำหนดตัวคั่นค่าตัวแปร หรือตัวแบ่ง // ผลที่ได้คือ เป็นการนำค่าในตัวแปร array ชื่อ cars มารวมกัน หรือเรียงต่อกัน เป็นข้อความ // ใหม่ และคั่นแต่ละค่าด้วย comma (,) // จะได้ตัวแปร carsUseJoin เป็น ตัวแปรประเภท String // มีค่าเท่ากับ carsUseJoin="Toyota,Honda,Isuzu";
// ตัวอย่าง กรณีกำหนดค่าตัวแบ่ง var cars=["Toyota","Honda","Isuzu"]; // ตัวแปร array var carsUseJoin=cars.join(" and "); // กำหนดตัวคั่นค่าตัวแปร หรือตัวแบ่ง // ผลที่ได้คือ เป็นการนำค่าในตัวแปร array ชื่อ cars มารวมกัน หรือเรียงต่อกัน เป็นข้อความ // ใหม่ และคั่นแต่ละค่าด้วย and // จะได้ตัวแปร carsUseJoin เป็น ตัวแปรประเภท String // มีค่าเท่ากับ carsUseJoin="Toyota and Honda and Isuzu";
ใช้ฟังก์ชัน pop()
pop() ใช้สำหรับ ลบค่าตัวสุดท้ายออกจากตัวแปร array แล้วคืนค่านั้นกลับมา
มีผลให้ตัวแปร array มีการเปลี่ยนแปลง
// ตัวอย่างการใช้งาน var cars=["Toyota","Honda","Isuzu"]; // ตัวแปร array var carsUsePop=cars.pop(); // ลบค่าตัวสุดท้าย Isuzu ออกจากตัวแปร array ชื่อ cars // มีผลให้ตัวแปร array cars=["Toyota","Honda"]; และ length ลดเหลือ 2 // จากนั้นคืนค่าที่ลบออก มา แล้วกำหนดไว้ที่ตัวแปร carsUsePop // จะได้ตัวแปร carsUsePop="Isuzu";
ใช้ฟังก์ชัน push()
push() ใช้สำหรับ เพิ่มค่าเข้าไปในตัวแปร array โดยต่อท้าย จากค่าเดิม แล้วคืนค่าจำนวนรายการทั้งหมด ของตัวแปร array กลับมา มีผลให้ตัวแปร array มีการเปลี่ยนแปลง
// ตัวอย่างการใช้งาน กรณีเพิ่มเพียงค่าเดียว var cars=["Toyota","Honda","Isuzu"]; // ตัวแปร array var carsUsePush=cars.push("Mitsubishi"); // เพิ่มค่า Mitsubishi เข้าไปต่อท้ายค่าตัวแปร array เดิม // มีผลให้ตัวแปร array cars=["Toyota","Honda","Isuzu","Mitsubishi"]; // จากนั้นคืนค่าจำนวนรายการทั้งหมด ของตัวแปร array cars แล้วกำหนดไว้ที่ตัวแปร carsUsePush // จะได้ตัวแปร carsUsePush=4;
// ตัวอย่างการใช้งาน กรณีเพิ่มหลายค่า var cars=["Toyota","Honda","Isuzu"]; // ตัวแปร array var carsUsePush=cars.push("Mitsubishi","Ford"); // เพิ่มค่า Mitsubishi และ Ford เข้าไปต่อท้ายค่าตัวแปร array เดิม // มีผลให้ตัวแปร array cars=["Toyota","Honda","Isuzu","Mitsubishi","Ford"]; และ length เพิ่มขั้น // จากนั้นคืนค่าจำนวนรายการทั้งหมด ของตัวแปร array cars แล้วกำหนดไว้ที่ตัวแปร carsUsePush // จะได้ตัวแปร carsUsePush=5;
ใช้ฟังก์ชัน reverse()
reverse() ใช้สำหรับ กลับลำดับค่าของตัวแปร array เช่น ค่าจากเดิม คือ 1 2 3 4 เมื่อใช้ reverse() ลำดับค่าใหม่จะเท่ากับ 4 3 2 1 มีผลให้ตัวแปร array มีการเปลี่ยนแปลง
// ตัวอย่างการใช้งาน var cars=["Toyota","Honda","Isuzu","Mitsubishi"]; // ตัวแปร array // ค่าเดิม // cars[0]="Toyota"; // cars[1]="Honda"; // cars[2]="Isuzu"; // cars[3]="Mitsubishi"; var carsUseReverse=cars.reverse(); // ทำการกลับลำดับรายการตัวแปร array // มีผลให้ตัวแปร array cars=["Mitsubishi","Isuzu","Honda","Toyota"]; // ค่าใหม่ // cars[0]="Mitsubishi"; // cars[1]="Isuzu"; // cars[2]="Honda"; // cars[3]="Toyota"; // จากนั้นนำตัวแปร array ที่ทำการกลับลำดับรายการไปเก็บไว้ในตัวแปร carsUseReverse // จะได้ตัวแปร carsUseReverse=["Mitsubishi","Isuzu","Honda","Toyota"]; ซึ่งเท่ากับตัวแปร cars
ใช้ฟังก์ชัน shift()
shift() ใช้สำหรับ ลบค่าตัวแรกออกจากตัวแปร array แล้วคืนค่านั้นกลับมา
มีผลให้ตัวแปร array มีการเปลี่ยนแปลง
// ตัวอย่างการใช้งาน var cars=["Toyota","Honda","Isuzu"]; // ตัวแปร array var carsUseShift=cars.shift(); // ลบค่าตัวแรก Toyota ออกจากตัวแปร array ชื่อ cars // มีผลให้ตัวแปร array cars=["Honda","Isuzu"]; และ length ลดเหลือ 2 // จากนั้นคืนค่าที่ลบออก มา แล้วกำหนดไว้ที่ตัวแปร carsUseShift // จะได้ตัวแปร carsUseShift="Toyota";
ใช้ฟังก์ชัน unshift()
// ตัวอย่างการใช้งาน var cars=["Toyota","Honda","Isuzu"]; // ตัวแปร array var carsUseUnshift=cars.unshift('Mitsubishi'); // เพิ่ม Mitsubishi เข้าไปในตัวแปร array ชื่อ cars ตัวแรก // มีผลให้ตัวแปร array cars=["Mitsubishi","Toyota","Honda","Isuzu"]; และ length เพิ่มเป็น 4 // ค่า length จะเก็บไว้ในตัวแปร carsUseUnshift console.log(cars); console.log(carsUseUnshift);
ใช้ฟังก์ชัน slice()
slice(start,end) ใช้สำหรับ ดึงค่าจากตำแหน่งที่ต้องการในตัวแปร array แล้วคืนค่านั้นกลับมา
ไม่มีผลให้ตัวแปร array มีการเปลี่ยนแปลง
start คือ ตำแหน่งเริ่มต้นที่ต้องการดึงค่าจากตัวแปร array เริ่มต้นเท่ากับ 0 สามารถเป็นค่าติดลบได้
end คือ ตำแหน่งสุดท้ายที่ต้องการ ไม่อิงตาม key นั้นหมายถึงนับตัวแรกเท่ากับ 1 ต่างจาก start ตัวแรกเริ่มจาก 0 ถ้าไม่กำหนด end จะเอาตั้งแต่ตำแหน่ง start ไปจนถึงตัวสุดท้าย
// ตัวอย่างการใช้งาน var cars=["Toyota","Honda","Isuzu","Mitsubishi"]; // ตัวแปร array // กรณีดึงตำแหน่ง ที่ 2 กับ 3 ("Honda","Isuzu") // แนวทางการกำหนด start และ end ถ้าต้องการตัวที่ 2 กับ 3 // กำหนด 2,3 แล้วลดค่าตัวแรกลง 1 ค่า จะได้ค่าที่ใช้กำหนดจริงเท่ากับ 1,3 var carsUseSlice=cars.slice(1,3); // จะได้ carsUseSlice=["Honda","Isuzu"] // กรณีดึงตำแหน่งที่ 2 ไปจนถึงตำแหน่งสุดท้าย ไมต้องกำหนด end กำหนด var carsUseSlice=cars.slice(1); // จะได้ carsUseSlice=["Honda","Isuzu","Mitsubishi"]; // กรณีดึงตำแหน่งเริ่มจาก 2 ตัวหลัง var carsUseSlice=cars.slice(-2); // จะได้ carsUseSlice=["Isuzu","Mitsubishi"];