ใช้ฟังก์ชัน sort()
sort() ใช้สำหรับ เรียงลำดับค่า ในตัวแปร array ตามตัวอักษร รองรับการใช้งาน กับการเรียงอักษรภาษาไทยไม่สามารถใช้ได้กับการเรียงตัวเลข เช่น ถ้ามีเลข 5 กับ 40 การเรียงลำดับด้วย sort() จะไม่สามารถทำได้
ทำให้ 40 จะมาก่อนเลข 5 แทนที่จะเป็น เลข 5 มาก่อนเลข 40 อย่างไรก็ตาม หากจำเป็นต้องใช้การเรียงตัวเลข
สามารถสร้างฟังก์ชัน สำหรับการเปรียบเทียบค่าเข้ามาช่วยได้
การคืนค่าจะคืนค่ารายการ array ที่มีการเรียงลำดับเรียบร้อยแล้ว มีผลทำให้ตัวแปร array มีการเปลี่ยนแปลง
// ตัวอย่างการใช้งาน var cars=["Toyota","Honda","Isuzu","Mitsubishi"]; // ตัวแปร array var carsUseSort=cars.sort(); // จะได้ cars=["Honda","Isuzu","Mitsubishi","Toyota"]; // แล้วคืนค่ากลับมาเป็น array ที่มีการเรียงลำดับใหม่แล้ว // ทำให้ตัวแปร carsUseSort=["Honda","Isuzu","Mitsubishi","Toyota"]; เท่ากับตัวแปร cars
// ตัวอย่างการใช้งาน กรณี การเรียงลำดับตัวเลข จาก น้อยไปหามาก var num = ["10", "5", "40", "25", "100", "1"]; // ตัวแปร array function sortNumber(a,b){ // ฟังก์ชันสำหรับเปรียบเทียบค่า ใช้ในการจัดเรียงกรณีตัวเลข return a - b; } var numSort=num.sort(sortNumber); // จะได้ num=["1", "5", "10", "25", "40", "100"]; // แล้วคืนค่ากลับมาเป็น array ที่มีการเรียงลำดับใหม่แล้ว // ทำให้ตัวแปร numSort=["1", "5", "10", "25", "40", "100"]; เท่ากับตัวแปร num
// ตัวอย่างการใช้งาน กรณี การเรียงลำดับตัวเลข จาก มากไปหาน้อย var num = ["10", "5", "40", "25", "100", "1"]; // ตัวแปร array function sortNumber(a,b){ // ฟังก์ชันสำหรับเปรียบเทียบค่า ใช้ในการจัดเรียงกรณีตัวเลข return b - a; } var numSort=num.sort(sortNumber); // จะได้ num=["1", "5", "10", "25", "40", "100"]; // แล้วคืนค่ากลับมาเป็น array ที่มีการเรียงลำดับใหม่แล้ว // ทำให้ตัวแปร numSort=["1", "5", "10", "25", "40", "100"]; เท่ากับตัวแปร num
ใช้ฟังก์ชัน splice()
splice(index,howmany,element1,.....,elementX)
ใช้สำหรับ เพิ่มค่าเข้าไปในตัวแปร array
และ/หรือ ลบค่าออกจากตัวแปร array (เพิ่ม หรือ ลบ อย่างใดอย่างอย่างหนึ่ง หรือ ทั้งเพิ่ม และลบพร้อมกัน)
คืนค่าที่ทำการลบออก กรณีกำหนดให้มีการลบ
โดยทำให้ตัวแปร array มีการเปลี่ยนแปลง
index คือ ตำแหน่งที่ต้องการ เพิ่ม หรือลบ ค่าในตัวแปร array
howmany คือ จำนวนค่าที่ต้องการ ลบ ถ้าเป็น 0 หมายถึง ไม่มีการลบค่าในตัวแปร array
element1, ..., elementX คือ ค่าใหม่ที่ต้องการเพิ่มเข้าไปในตัวแปร array กำหนด หรือไม่ก็ได้
// ตัวอย่างการใช้งาน กรณีเพิ่มค่าเข้าไปในตัวแปร array ตำแหน่งที่ 2 var cars=["Toyota","Honda","Isuzu","Mitsubishi"]; // ตัวแปร array var carsUseSplice=cars.splice(2,0,"Ford"); // มีผลให้ตัวแปร cars=["Toyota","Honda","Ford","Isuzu","Mitsubishi"]; // ไม่มีการคืนค่า เนื่องจากไม่มีการลบค่าใดๆ ออกจากตัวแปร // ทำให้ carsUseSplice="";
// ตัวอย่างการใช้งาน กรณีลบ หนึ่งค่าออกจากตำแหน่งที่ 2 และเพิ่มค่าใหม่เข้าไปในตำแหน่งที่ 2 // ลบ และ เพิ่ม var cars=["Toyota","Honda","Isuzu","Mitsubishi"]; // ตัวแปร array var carsUseSplice=cars.splice(2,1,"Ford"); // มีผลให้ตัวแปร cars=["Toyota","Honda","Ford","Mitsubishi"]; // คืนค่า ตัวที่ลบ เท่ากับ Isuzu เนื่องจากมีการกำหนด จำนวนที่ต้องการลบ เท่ากับ 1 // ทำให้ carsUseSplice="Isuzu";
// ตัวอย่างการใช้งาน กรณีลบ สองค่าออกจากตำแหน่งที่ 2 และเพิ่มค่าใหม่เข้าไปในตำแหน่งที่ 2 // ลบ และ เพิ่ม var cars=["Toyota","Honda","Isuzu","Mitsubishi"]; // ตัวแปร array var carsUseSplice=cars.splice(2,2,"Ford"); // มีผลให้ตัวแปร cars=["Toyota","Honda","Ford"]; // คืนค่า ตัวที่ลบ เท่ากับ Isuzu,Mitsubishi เนื่องจากมีการกำหนด จำนวนที่ต้องการลบ เท่ากับ 2 // ทำให้ carsUseSplice="Isuzu,Mitsubishi";
ใช้ฟังก์ชัน toString()
toString() ใช้สำหรับ แปลงค่า array เป็น string และคืนค่าเป็นข้อความคั่นด้วยเครื่องหมาย (,)
โดยที่ตัวแปร array ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
// ตัวอย่างการใช้งาน var cars=["Toyota","Honda","Isuzu","Mitsubishi"]; // ตัวแปร array var carsUseToString=cars.toString(); // จะได้ carsUseToString="Toyota,Honda,Isuzu,Mitsubishi"; // โดยที่ตัวแปร cars ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
ใช้ฟังก์ชัน valueOf() ในการจัดการ กับตัวแปร array
valueOf() ใช้สำหรับ แสดงค่าทั้งหมดในตัวแปร array และคั่นแต่ละค่าด้วย comma (,)
โดยที่ตัวแปร array ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
// ตัวอย่างการใช้งาน var cars=["Toyota","Honda","Isuzu","Mitsubishi"]; // ตัวแปร array var carsUseValueOf=cars.valueOf(); // จะได้ carsUseValueOf="Toyota,Honda,Isuzu,Mitsubishi"; // โดยที่ตัวแปร cars ไม่มีการเปลี่ยนแปลง