แนะนำ Express Generator เครื่องมือสร้าง Application เบื้องต้น

เขียนเมื่อ 5 ปีก่อน โดย Ninenik Narkdee
express generator ejs nodejs expressjs

คำสั่ง การ กำหนด รูปแบบ ตัวอย่าง เทคนิค ลูกเล่น การประยุกต์ การใช้งาน เกี่ยวกับ express generator ejs nodejs expressjs

ดูแล้ว 10,844 ครั้ง


Express generator เป็น Command line tool หรือที่เรียกว่า CLI 
ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้เรา สร้างเค้าโครงของ web application ที่จะพัฒนา
ด้วย Express ได้ง่ายขึ้น 
    ซึ่งเนื้อหาในตอนที่แล้ว http://niik.in/906
    เราสร้างโฟลเดอร์ expressjs เป็นโปรเจ็คเกี่ยวกับการใช้งาน Express แล้วก็ทำการ ติดตั้ง
Express ผ่าน npm ซึ่งเป็นขึ้นตอนการสร้าง ปกติทั่วไป 
    แต่สำหรับการใช้งาน Express generator จะเริ่มตั้งแต่สร้างโฟลเดอร์โปรเจ็คให้เรา จากนั้นจะไป
ทำการดาวน์โหลดโฟล์ต่างๆ ตามรูปแบบและการใช้งานที่ระบุในขั้นตอนการติดตั้ง รวมถึงมีไฟล์
package.json ที่เป็นตัวติดตั้ง ส่วนเพิ่มเติมอื่นๆ หรือที่เรียกว่า dependencies มาให้พร้อมสำหรับการติดตั้ง
    ในขั้นตอนการติดตั้ง เราก็แค่เข้าไปในโฟลเดอร์โปรเจ็คที่เพิ่งสร้าง จากนั้นใช้คำสั่ง install หรือให้ 
npm ทำการติดตั้ง denpendencies ต่างๆ ที่ระบุในไฟล์ package.json ให้เรา เท่านี้ เราจะได้ตัวอย่าง
app ที่พร้อมทำงานได้แล้ว
    อย่างไรก็ตาม ในที่นี้ เราจะแค่แนะนำให้รู้จักคร่าวๆ เท่านั้น   เพราะต้องการศึกษาและทำความเข้าใจ
กับการใช้งาน Express แบบ ค่อยเป็นไปตามลำดับ เนื่องจากความเข้าใจพื้นฐานเป็นสิ่งสำคัญ
 

การติดตั้ง Express Generator

    สมมติตอนนี้เราอยู่ที่โฟลเดอร์โปรเจ็ครวม C: > projects ให้เราทำการติดตั้ง ผ่านคำสั่ง npm ดังนี้
 
 

 
npm install express-generator -g
 
    เราเลือกติดตั้งแบบ global สังเกตจากการต่อท้ายด้วย -g หมายความว่า เราสามารถใช้คำสั่ง Express
generator ผ่านโฟลเดอร์ใดๆ ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องในโฟลเดอร์โปรเจ็คเท่านั้น ทำให้เราไม่ต้องทำการติดตั้ง
ทุกๆ ครั้งที่จะใช้งาน หรือก็คือ ติดตั้งครั้งเดียวใช้ได้ในทุกๆ โปรเจ็ค เป็นต้น
 
    หลังจากติดตั้ง เรียบร้อยแล้ว ให้เรา พิมพ์ express -h เพื่อดูว่า Express generator สามารถทำอะไรได้บ้าง
 
C:\projects> express -h

  Usage: express [options] [dir]


  Options:

        --version        output the version number
    -e, --ejs            add ejs engine support
        --pug            add pug engine support
        --hbs            add handlebars engine support
    -H, --hogan          add hogan.js engine support
    -v, --view <engine>  add view <engine> support (dust|ejs|hbs|hjs|jade|pug|twig|vash)
(defaults to jade)
        --no-view        use static html instead of view engine
    -c, --css <engine>   add stylesheet <engine> support (less|stylus|compass|sass) (defaults to plain css)
        --git            add .gitignore
    -f, --force          force on non-empty directory
    -h, --help           output usage information
 
    ซึ่งคำสั่งก็จะไม่ได้มีมากอะไร และหลักๆ แล้วจะเหลือแค่คำสั่ง การสร้าง view และ template engine ให้กับ
โปรเจ็คที่เราจะสร้างมากกว่า โดย template engine ก็จะมี ejs, pug, hbs กละ hologan ซึ่งเราจะเลือกใช้ ejs
ในการพัฒนา Express เพราะว่ามีรูปแบบการใช้งานที่ง่าย 
 
    สมมติเราจะสร้างโปรเจ็ค Express โดยใช้งามร่วมกับ EJS ไว้ใน app โฟลเดอร์ที่ชื่อ expressjs ก็จะใช้คำสั่ง
ในรูปแบบ 
 
express -v [ชื่อ template engine] [ชื่อโฟลเดอร์ app โปรเจ็ค]
    ก็จะได้เป็น



express -v ejs expressjs

    จะเห็นว่า Express generator สร้างโครงสร้างไฟล์เริ่มต้นให้เรา รวมถึงแนะนำการใช้งาน ว่า
 
// ให้เข้าไปใน app โฟลเดอร์ด้วยคำสั่ง 

cd expressjs 

// ติดตั้ง dependencies ด้วยคำสั่ง

mpm install

// และรัน app ด้วยคำสั่ง 

SET DEBUG=expressjs:*

// และคำสั่ง

npm start
ตามลำดับ
 
 
    ด้านล่างคือโครงสร้างไฟล์ และโฟลเดอร์ ที่ Express generator สร้างให้เรา
 
│   app.js
│   package.json
│
├───bin
│       www
│
├───public
│   ├───images
│   ├───javascripts
│   └───stylesheets
│           style.css
│
├───routes
│       index.js
│       users.js
│
└───views
        error.ejs
        index.ejs
 
    ให้เราเปิดโปรเจ็คด้วย VSCode และดูที่ไฟล์ package.json
 
 


 
 
    จากนั้นให้เราเข้าไปติดตั้ง dependencies ต่างๆ ผ่านคำสั่ง
 
 
 
npm install
 
    ตอนนี้เราเห็นว่ามี node_modules โฟลเดอร์ ซึ่งมี module ต่างๆ ที่จำเป็นในการใช้งานในโปรเจ็คของเรา
และมีไฟล์ package-lock.json ซึ่งเป็น package หลักที่ไว้สำหรับติดตั้งหรือนำโปรเจ็คของเราไปพัฒนาต่อ
 
    เราสามารถเปิดเข้าไปดูรูปแบบ ตัวอย่างไฟล์ต่างๆ ได้ แต่อย่างที่บอกไปในตอนต้น หากเรากำลังเพิ่งศึกษา
Express ก็คงอาจจะไม่เข้าใจในรูปแบบและคำสั่งต่างๆ ให้ที่นี้ เราแค่เพียงให้รู้ว่า เราสามารถจัดการ express
web app ในกรณีสร้าง web app ที่มีความซับซ้อนได้โดยใช้ Express generator 
    ต่อไปให้เราลองทดสอบดูว่า Express app ทำงานและแสดงผลเป็นอย่างไร โดยใช้คำสั่ง 
 
SET DEBUG=expressjs:* 

// และ 

npm start

// ตามลำดับ
 

 
 
    จากนั้นให้เราเข้าไปในหน้าบราวเซอร์ ทดสอบเข้าหน้า web app ตัวอย่างได้ที่ http://localhost:3000
จะได้ผลลัพธ์ดังรูปด้านล่าง
 
 

 
 
    เราสามารถรัน app ด้วยคำสั่ง node หรือ nodemon กรณีติดตั้ง nodemon module โดยใช้คำสัง 
 
nodemon ./bin/www
 
    โดยถ้าเราใช้คำสั่ง nodemon แล้ว เราก็สามารถเข้าไปแก้ไข ค่าต่างๆ เช่นในไฟล์ routes > index.js
แล้วรีเฟรสหน้า web app ดูผลลัพธ์การทำงานได้
 
    ทั้งหมดคือเบื้องต้นคร่าวๆ เกี่ยวกับการใช้งาน Express generator 


กด Like หรือ Share เป็นกำลังใจ ให้มีบทความใหม่ๆ เรื่อยๆ น่ะครับ



อ่านต่อที่บทความ









เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง









URL สำหรับอ้างอิง





คำแนะนำ และการใช้งาน

สมาชิก กรุณา ล็อกอินเข้าระบบ เพื่อตั้งคำถามใหม่ หรือ ตอบคำถาม สมาชิกใหม่ สมัครสมาชิกได้ที่ สมัครสมาชิก


  • ถาม-ตอบ กรุณา ล็อกอินเข้าระบบ
  • เปลี่ยน


    ( หรือ เข้าใช้งานผ่าน Social Login )







เว็บไซต์ของเราให้บริการเนื้อหาบทความสำหรับนักพัฒนา โดยพึ่งพารายได้เล็กน้อยจากการแสดงโฆษณา โปรดสนับสนุนเว็บไซต์ของเราด้วยการปิดการใช้งานตัวปิดกั้นโฆษณา (Disable Ads Blocker) ขอบคุณครับ