ใช้งาน Server side processing สำหรับ DataTable ร่วมกับ Codeigniter ตอนที่ 3

เขียนเมื่อ 7 ปีก่อน โดย Ninenik Narkdee
codeigniter datatable codeigniter 3 server side processing

คำสั่ง การ กำหนด รูปแบบ ตัวอย่าง เทคนิค ลูกเล่น การประยุกต์ การใช้งาน เกี่ยวกับ codeigniter datatable codeigniter 3 server side processing

ดูแล้ว 12,749 ครั้ง


สำหรับเนื้อหาต่อไปนี้ เป็นตอนต่อเนื่องเกี่ยวกับ DataTable plugin ที่ใช้งานร่วมกับ Codeigniter
ในตอนนี้เราจะดูต่อในส่วนของการใช้ข้อมูลจาก Server-side processing ซึ่งเป็นชุดข้อมูลสุดท้าย
ที่เราได้เกริ่นไปแล้วในบทความตอนที่ผ่านมา ทบทวนได้ที่
 
Data sources สำหรับ DataTable ในการใช้งานร่วมกับ Codeigniter ตอนที่ 2 

การใช้ข้อมูลจาก Server-side processing

    สำหรับการใช้ข้อมูลจาก Server-side processing นั้นจะคล้ายๆ กับการใช้งาน ajax แต่ไม่เหมือนกัน
เลยซะทีเดียว โดยข้อมูลจาก Server-side processing จะเหมาะกับการใช้งานกับฐานข้อมูลที่มีปริมาณมากๆ
การจัดการข้อมูลไม่ว่าจะเป็นการเรียงข้อมูล การค้นหาข้อมูล การกำหนดการแสดงข้อมูลในแต่ละหน้า ล้วนจำเป็น
ต้องมีการจัดการผ่านไฟล์ Server script ที่ต้องกำหนดให้สอดคล้องกับการแสดงผล โดยการใช้งานข้อมูลจาก
Server-side processing นั้น จะมีการส่ง Ajax request ไปดึงข้อมูลใหม่ทุกๆ ครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงใน DataTable
ซึ่งต่างจากกรณี Ajax data ที่ดึงข้อมูลคร้้งแรกครั้งเดียว เหตุผลก็เพราะข้อมูลที่มีขนาดใหญ่
 

รูปแบบการเรียกใช้ข้อมูลจาก Server-side processing 

    สามารถกำหนดโค้ดเรียกใช้ข้อมูลผ่าน Ajax ได้ดังนี้
 
<link rel="stylesheet" href="//cdn.datatables.net/1.10.15/css/jquery.dataTables.min.css">  
<script src="//cdn.datatables.net/1.10.15/js/jquery.dataTables.min.js"></script>

<table id="table_server_id" class="display">
    <thead>
        <tr>
            <th>Province ID</th>
            <th>Province Name TH</th>
            <th>Province Name ENG</th>
        </tr>
    </thead>
</table>
  
<script type="text/javascript">
$(function(){
    $('#table_server_id').DataTable( {
		"processing": true, // แสดงข้อความกำลังดำเนินการ กรณีข้อมูลมีมากๆ จะสังเกตเห็นง่าย
		"serverSide": true,  // ใช้งานในโหมด Server-side processing
		"order": [], // กำหนดให้ไม่ต้องการส่งการเรียงข้อมูลค่าเริ่มต้น จะใช้ค่าเริ่มต้นตามค่าที่กำหนดในไฟล์ php
		"ajax": {
			"url": "<?=base_url("ajaxdata")?>", // ไฟล์ Server script php
			"type": "POST"  // ส่งข้อมูลแบบ post
		},
    } );
});
</script>
 
การใช้งานจะคล้ายๆ กับการใช้ข้อมูลจาก Ajax data แต่จะเพิ่มในส่วนของการกำหนด option เพิ่มเติมเข้ามาได้แก่
processing , serverSide , order โดยค่าเริ่มต้นเมื่อโหลดครั้งแรก เรากำหนดเป็น array ค่าว่าง
และส่วนสุดท้ายคือ ajax option ที่กำหนด url และ type property 
ตอนนี้ส่วนของการเรียกใช้งานเราพร้อมแล้ว ต่อไปก็ส่วนสำคัญ คือส่วนของไฟล์ Server Script สร้างไฟล์คล้ายๆ
กับรูปแบบ Ajax data ดังนี้
 
ให้สร้างไฟล์ Ajaxdata.php ไว้ในโฟลเดอร์ apps > controllers 
กำหนดโค้ดตามรูปแบบด้านล่าง ดังนี้
 
<?php
defined('BASEPATH') OR exit('No direct script access allowed');
 
class Ajaxdata extends CI_Controller {
   	private $table = "tbl_provinces"; // กำหนดชื่อตารางข้อมูล
	// กำหนดฟิลด์ข้อมูลที่สามารถให้ค้นหาข้อมูลได้
	private $column_search = array(
		"province_id","province_name","province_name_eng"
	);
	// กำหนดฟิลด์ข้อมูลที่สามารถให้เรียงข้อมูลได้
	private $column_order = array(
		"province_id","province_name","province_name_eng"
	);	
	// กำหนดฟิลด์ข้อมูลที่่ต้องการเรียงข้อมูลเริ่มต้น และรูปแบบการเรียงข้อมูล
	private $order = array("province_id"=>"asc");
    public function __construct(){
        parent::__construct();
    }
    public function index(){
		
        $data = array();
		$_draw = $this->input->post('draw'); // ครั้งที่การดึงข้อมูล ค่าของ dataTable ส่งมาอัตโนมัติ
		$_p = $this->input->post('search'); // ตัวแปรคำค้นหาถ้ามี
		$_earchValue = $_p['value']; // ค่าคำค้นหา
		$_order = $this->input->post('order'); // ตัวแปรคอลัมน์ที่ต้องการเรียงข้อมูล
		$_length = $this->input->post('length'); // ตัวแปรจำนวนรายการที่จะแสดงแต่ละหน้า
		$_start = $this->input->post('start'); // เริ่มต้นที่รายการ
        $query = $this->db->from($this->table);  // ดึงข้อมูลจากตารางที่กำหนด
		$total_rows_all = $this->db->count_all_results(null,FALSE); // เก็บค่าจำนวนรายการทั้งหมด		
        $i = 0;    
		// วนลูปฟิลด์ที่ต้องการค้นหา กรณีมีการส่งคำค้น เข้ามา
        foreach ($this->column_search as $item){
			if($_earchValue){ // ถ้ามีค่าคำค้น
				// จัดรูปแแบคำสั่ง sql การใช้งาน OR กับ LIKE
				if($i===0){ // ถ้าเป็นค่าเริ่มเต้นให้เปิดวงเล็บ (
                    $this->db->group_start(); 
                    $this->db->like($item, $_earchValue);					
				}else{
					$this->db->or_like($item, $_earchValue);
				}
				if(count($this->column_search) - 1 == $i){ // ถ้าเป็นต้วสุดท้ายให้ปิดวงเล็บ )
					$this->db->group_end();
				}
			}
			$i++;
			// ส่วนของการวนลูปนี้จะได้รูปแบบ เช่น ( fileld1 LIKE 'a' OR field2 LIKE 'a' )  เป็นต้น
		}  
		// ถ้ามีการส่งฟิลด์ที่ต้องการเรียงข้อมูลเข้ามา เช่น กรณีกดที่หัวข้อในตาราง dataTable
		if(isset($_order) && $_order!=NULL){
			// จัดรูปแบบการจัดเรียงข้อมูลจากค่าที่ส่งมา
			$_orderColumn = $_order['0']['column'];
			$_orderSort = $_order['0']['dir'];
			$this->db->order_by($this->column_order[$_orderColumn], $_orderSort);
		}else{ // กรณีไม่ได้ส่งค่าในตอนต้น ให้ใช้ค่าตามที่กำหนด
			// จัดรูปแบบการจัดเรียง  ตามที่กำหนดด้ายตัวแปร $order ด้านบน
            $order = $this->order;
            $this->db->order_by(key($order), $order[key($order)]);			
		}
		$total_rows_filter = $this->db->count_all_results(null,FALSE); // กำหนดค่าจำนวนข้อมูลหลังมีเงื่อนไขต่างๆ			
        if($_length != -1){ // กรณีมีการกำหนดว่าต้องการแสดงข้อมูลหน้าละกี่รายการ
        	$this->db->limit($_length, $_start); // จัดรูปแบบการแสดง ผลที่ได้เช่น LIMIT 10,10
		}	
        $query = $this->db->get(); // คิวรี่ข้อมูลตาเงื่อนไข
		// วนลูปนำฟิลด์รายการที่ต้องการและสอดคล้องกันมาไว้ในตัวแปร array ที่ชื่อ $data
        foreach ($query->result_array() as $row){
            $data[] = array(
                $row['province_id'],
                $row['province_name'],
                $row['province_name_eng']
            );
        }
		// กำหนดรูปแบบ array ของข้อมูลที่ต้องการสร้าง JSON data ตามรูปแบบที่ DataTable กำหนด
        $output = array(
			"draw" => $_draw, // ครั้งที่เข้ามาดึงข้อมูล
			"recordsTotal" => $total_rows_all, // ข้อมูลทั้งหมดที่มี
			"recordsFiltered" => $total_rows_filter, // ข้อมูลเฉพาะที่เข้าเงื่อนไข เช่น ค้นหา แล้ว		
             "data" => $data // รายการ array ข้อมูลที่จะใช้งาน
        );
        echo json_encode($output);
        exit();			
    }
}
 
 
หลักๆ ส่วนที่ต้องแก้ไข ก็จะเป็นส่วนของบรรทัดที่ highlight ไว้ แต่ถ้าหากเข้าใจการทำงานโดยรวมก็สามารถ
ปรับแต่งๆได้ตามต้องการ สามารถเปลี่ยนชื่อไฟล์หรือชื่อ class เป็นชื่ออื่นๆ ได้ กรณีเรียกใช้ dataTable กับ
หลายๆ ตาราง
    ค่าตัวแปรที่ถูกส่งเข้ามาที่เป็นตัวแปร $_POST เป็นค่าที่ dataTable กำหนดและส่งค่าเข้ามา คำอธิบายการ
ทำงานแสดงในโค้ด
 
ลองทดสอบเรียกใช้งาน จะได้ผลลัพธ์ดังรูป
 
 



 
 
 
ต่อไปเรามาลองปรับโค้ดอีกนิดหน่อย ให้รองรับการทำงานที่เพิ่มขึ้น สมมติว่าเราต้องการแทรกคอลัมน์ลำดับ
รายการของข้อมูลในตาราง ไม่ว่าข้อมูลนั้นๆ จะเรียงข้อมูลยังไง ลำดับข้อมูลก็จะเรียงลำดับเหมือนเดิม เราจะลอง
ประยุกต์เพิ่มเติมจากตัวอย่างด้านบน โดยเราจะเพิ่มคอลัมน์ลำดับรายการจังหวัดเข้าไป และจะมีการส่งข้อมูลที่กำหนด
เองเข้าไปใน ajax ด้วย โดยเราจะส่งหน้าของข้อมูลในขณะนั้น เข้าไปเพื่อไปสร้างเลขลำดับข้อมูล
 
ไฟล์เรียกใช้ปรับแต่งเพิ่มเติม ดูบรรทัดที่ highlight
 
<link rel="stylesheet" href="//cdn.datatables.net/1.10.15/css/jquery.dataTables.min.css">  
<script src="//cdn.datatables.net/1.10.15/js/jquery.dataTables.min.js"></script>

<table id="table_server_id" class="display">
    <thead>
        <tr>
        	<th>#</th>
            <th>Province ID</th>
            <th>Province Name TH</th>
            <th>Province Name ENG</th>
        </tr>
    </thead>
</table>
  
<script type="text/javascript">
$(function(){
     $('#table_server_id').DataTable( {
		"processing": true, // แสดงข้อความกำลังดำเนินการ กรณีข้อมูลมีมากๆ จะสังเกตเห็นง่าย
		"serverSide": true,  // ใช้งานในโหมด Server-side processing
		"order": [], // กำหนดให้ไม่ต้องการส่งการเรียงข้อมูลค่าเริ่มต้น จะใช้ค่าเริ่มต้นตามค่าที่กำหนดในไฟล์ php
		"ajax": {
			"url": "<?=base_url("ajaxdata")?>", // ไฟล์ Server script php
			"data":{   // เพิ่มตัวแปรที่ต้องกาส่งเข้าไปแบบกำหนดเอง
				"page":function(){ // ใข้ข้อมูลตัวแปรชื่อ page
					var dataTable1 = $('#table_server_id').DataTable(); // จะใช้ข้อมูลอ้างอิงจาก dataTable
					return dataTable1.page.info().page;	// ส่งค่าเลขหน้าปัจจุบันไปไว้ในตัวแปร page ค่าเรี่มต้นนับจาก 0
				}
			},
			"type": "POST"  // ส่งข้อมูลแบบ post
		},
		"columnDefs": [  // กำหนดลักษณะพิเสษเฉพาะสำหรับคอลัมน์ตารางที่ต้องการ
			{ 
				"targets": [ 0 ], // เราต้องการกำหนดคอลัมน์แรก ค่าเริ่มต้นที่ 0
				"orderable": false, // ให้ไม่ต้องสามารถเรียงข้อมูลได้ เพราะเป็นลำดับรายการเฉยๆ 
			}
		]
    } );
});
</script>
 
 
จากโค้ดจะเห็นว่าเราเพิ่มคอลัมน์สำหรับแสดงลำดับรายการของข้อมูลในตารางไว้ก่อนคอลัมน์ Province ID
และส่วนของการส่งค่า ajax เราได้เพิ่มข้อมูลที่ต้องการส่งค่าเข้าไปแบบกำหนดเอง โดยเราส่งตัวแปรชื่อ page
เป็นค่าหน้าปัจจุบันของตารางข้อมูล โดยค่าจะเริ่มนับที่เลข 0 ชุดถ้าเรากดเลขหน้า 2 ค่าที่ถูกส่งไปก็จะเป็น 1
ส่วนต่อมาก็เป็นการกำหนดลักษณะเฉพาะของคอลัมน์ในตาราง ในที่นี้เราต้องการให้คอลัมน์แรกเป็นเลขลำดับ
เฉยๆ ไม่ต้องการให้สามารถคลิกเพื่อเรียงข้อมูลได้
 
ต่อไปเราไปดูในส่วนของการปรับที่ไฟล์ Ajaxdata.php ในโฟลเดอร์ apps > controllers
ดูในส่วนที่ทำการ highlight
 
<?php
defined('BASEPATH') OR exit('No direct script access allowed');
 
class Ajaxdata extends CI_Controller {
   	private $table = "tbl_provinces"; // กำหนดชื่อตารางข้อมูล
	// กำหนดฟิลด์ข้อมูลที่สามารถให้ค้นหาข้อมูลได้
	private $column_search = array(
		"province_id","province_name","province_name_eng"
	);
	// กำหนดฟิลด์ข้อมูลที่สามารถให้เรียงข้อมูลได้
	private $column_order = array(
		NULL,"province_id","province_name","province_name_eng"
	);	
	// กำหนดฟิลด์ข้อมูลที่่ต้องการเรียงข้อมูลเริ่มต้น และรูปแบบการเรียงข้อมูล
	private $order = array("province_id"=>"asc");
    public function __construct(){
        parent::__construct();
    }
    public function index(){
		
        $data = array();
		$_draw = $this->input->post('draw'); // ครั้งที่การดึงข้อมูล ค่าของ dataTable ส่งมาอัตโนมัติ
		$_p = $this->input->post('search'); // ตัวแปรคำค้นหาถ้ามี
		$_earchValue = $_p['value']; // ค่าคำค้นหา
		$_order = $this->input->post('order'); // ตัวแปรคอลัมน์ที่ต้องการเรียงข้อมูล
		$_length = $this->input->post('length'); // ตัวแปรจำนวนรายการที่จะแสดงแต่ละหน้า
		$_start = $this->input->post('start'); // เริ่มต้นที่รายการ
        $query = $this->db->from($this->table);  // ดึงข้อมูลจากตารางที่กำหนด
		$total_rows_all = $this->db->count_all_results(null,FALSE); // เก็บค่าจำนวนรายการทั้งหมด		
        $i = 0;    
		// วนลูปฟิลด์ที่ต้องการค้นหา กรณีมีการส่งคำค้น เข้ามา
        foreach ($this->column_search as $item){
			if($_earchValue){ // ถ้ามีค่าคำค้น
				// จัดรูปแแบคำสั่ง sql การใช้งาน OR กับ LIKE
				if($i===0){ // ถ้าเป็นค่าเริ่มเต้นให้เปิดวงเล็บ (
                    $this->db->group_start(); 
                    $this->db->like($item, $_earchValue);					
				}else{
					$this->db->or_like($item, $_earchValue);
				}
				if(count($this->column_search) - 1 == $i){ // ถ้าเป็นต้วสุดท้ายให้ปิดวงเล็บ )
					$this->db->group_end();
				}
			}
			$i++;
			// ส่วนของการวนลูปนี้จะได้รูปแบบ เช่น ( fileld1 LIKE 'a' OR field2 LIKE 'a' )  เป็นต้น
		}  
		// ถ้ามีการส่งฟิลด์ที่ต้องการเรียงข้อมูลเข้ามา เช่น กรณีกดที่หัวข้อในตาราง dataTable
		if(isset($_order) && $_order!=NULL){
			// จัดรูปแบบการจัดเรียงข้อมูลจากค่าที่ส่งมา
			$_orderColumn = $_order['0']['column'];
			$_orderSort = $_order['0']['dir'];
			$this->db->order_by($this->column_order[$_orderColumn], $_orderSort);
		}else{ // กรณีไม่ได้ส่งค่าในตอนต้น ให้ใช้ค่าตามที่กำหนด
			// จัดรูปแบบการจัดเรียง  ตามที่กำหนดด้ายตัวแปร $order ด้านบน
            $order = $this->order;
            $this->db->order_by(key($order), $order[key($order)]);			
		}
		$total_rows_filter = $this->db->count_all_results(null,FALSE); // กำหนดค่าจำนวนข้อมูลหลังมีเงื่อนไขต่างๆ			
        if($_length != -1){ // กรณีมีการกำหนดว่าต้องการแสดงข้อมูลหน้าละกี่รายการ
        	$this->db->limit($_length, $_start); // จัดรูปแบบการแสดง ผลที่ได้เช่น LIMIT 10,10
		}	
        $query = $this->db->get(); // คิวรี่ข้อมูลตาเงื่อนไข
		$_page = $this->input->post('page'); // ค่าตัวแปร page ที่เรากำหนดเองส่งหน้าปัจจุบันเข้ามา
		// วนลูปนำฟิลด์รายการที่ต้องการและสอดคล้องกันมาไว้ในตัวแปร array ที่ชื่อ $data
		$_i = 0; // ตัวแปรเลขลำดับข้อมูล
        foreach ($query->result_array() as $row){
			$_i++;
            $data[] = array(
				($_page*$_length)+$_i,
                $row['province_id'],
                $row['province_name'],
                $row['province_name_eng']
            );
        }
		// กำหนดรูปแบบ array ของข้อมูลที่ต้องการสร้าง JSON data ตามรูปแบบที่ DataTable กำหนด
        $output = array(
			"draw" => $_draw, // ครั้งที่เข้ามาดึงข้อมูล
			"recordsTotal" => $total_rows_all, // ข้อมูลทั้งหมดที่มี
			"recordsFiltered" => $total_rows_filter, // ข้อมูลเฉพาะที่เข้าเงื่อนไข เช่น ค้นหา แล้ว		
             "data" => $data // รายการ array ข้อมูลที่จะใช้งาน
        );
        echo json_encode($output);
        exit();			
    }
}
 
 
สังเกตส่วนของบรรทัดการกำหนด $column_order ค่าส่วนนี้เราต้องกำหนดลำดับให้สัมพันธ์กับคอลัมน์
ที่แสดงในตาราง DataTable จะเห็นว่าเราเพิ่ม NULL เข้าไปในค่า array ตัวแรก เพื่อเป็นการอ้างอิงคอลัมน์แรก
ของตาราง ที่เราใช้เป็นคอลัมน์แสดงลำดับรายการ ไม่ต้องการให้ทำการเรียงข้อมูลได้ จึงกำหนดค่าเป็น NULL
 
	// กำหนดฟิลด์ข้อมูลที่สามารถให้เรียงข้อมูลได้
	private $column_order = array(
		NULL,"province_id","province_name","province_name_eng"
	);
 
ต่อมาก็ดูในส่วนของการสร้างชุดข้อมูล
 
		$_page = $this->input->post('page'); // ค่าตัวแปร page ที่เรากำหนดเองส่งหน้าปัจจุบันเข้ามา
		// วนลูปนำฟิลด์รายการที่ต้องการและสอดคล้องกันมาไว้ในตัวแปร array ที่ชื่อ $data
		$_i = 0; // ตัวแปรเลขลำดับข้อมูล
        foreach ($query->result_array() as $row){
			$_i++;
            $data[] = array(
				($_page*$_length)+$_i,
                $row['province_id'],
                $row['province_name'],
                $row['province_name_eng']
            );
        }
 
เราเพิ่มชุดข้อมูลเลขลำดับเข้าไปใน $data[] ในค่า array ตัวแรก โดยการสร้างเลขลำดับหน้าจะใช้
ตัวแปรหน้า page ที่ถูกส่งเข้ามา มาช่วยในการคำนวณ ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นหน้าแรก และข้อมูลแสดงครั้งละ 10
ค่าการคำนวณก็จะเป็น (0*10)+1 หน้าแรกก็จะเป็นลำดับที่ 1,2,3.....ไปเรื่อยๆ พอเป็นหน้าที่สอง 
ค่าการคำนวณก็จะเป็น (1*10)+1 หน้าสองก็จะเป็นลำดับ 11,12,13....  ในลักษณะนี้ไปเรื่อยๆ
 
มาดูผลลัพธ์ที่ได้จะได้เป็นดังนี้
 
 

 
 
ลองสมมติเราทำการค้นหา โดยพิมพ์เลข 2 เข้าไป ข้อมูลก็จะไปค้นหาในฟิลด์ province_id, province_name และ
province_name_eng ซึ่งแน่นอนว่าข้อมูลที่จะแสดงก็จะเป็นรายการที่มี province_id ที่มีเลข 2 จากนั้นเรากดไป
ที่หน้าที่สอง ผลลัพธ์จะได้ดังรูป



 
 
รายการที่ตรงมีทั้งหมด 17 รายการ เมื่อเรากดไปหน้าที่ 2 ลำดับรายการก็จะเริ่มที่ลำดับที่ 11,12.... ไปจนถึง 17
โดยลำดับรายการไม่สลับไปตามข้อมูลที่มีการจัดเรียงใหม่ตามเงื่อนไขการค้นหา
 
ตอนนี้เราได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานข้อมูลจาก Server-side processing บ้างแล้ว เนื้อหาต่อไป จะเป็น
การประยุกต์เกี่ยวกับอะไร รอติดตาม

 


กด Like หรือ Share เป็นกำลังใจ ให้มีบทความใหม่ๆ เรื่อยๆ น่ะครับ



อ่านต่อที่บทความ









เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง









URL สำหรับอ้างอิง





คำแนะนำ และการใช้งาน

สมาชิก กรุณา ล็อกอินเข้าระบบ เพื่อตั้งคำถามใหม่ หรือ ตอบคำถาม สมาชิกใหม่ สมัครสมาชิกได้ที่ สมัครสมาชิก


  • ถาม-ตอบ กรุณา ล็อกอินเข้าระบบ
  • เปลี่ยน


    ( หรือ เข้าใช้งานผ่าน Social Login )







เว็บไซต์ของเราให้บริการเนื้อหาบทความสำหรับนักพัฒนา โดยพึ่งพารายได้เล็กน้อยจากการแสดงโฆษณา โปรดสนับสนุนเว็บไซต์ของเราด้วยการปิดการใช้งานตัวปิดกั้นโฆษณา (Disable Ads Blocker) ขอบคุณครับ