เปิดเว็บไซต์ภายในแอปด้วย InappWebview ใน Flutter

บทความใหม่ เดือนที่แล้ว โดย Ninenik Narkdee
webview webview flutter flutter inappwebview flutter

คำสั่ง การ กำหนด รูปแบบ ตัวอย่าง เทคนิค ลูกเล่น การประยุกต์ การใช้งาน เกี่ยวกับ webview webview_flutter flutter_inappwebview flutter

ดูแล้ว 245 ครั้ง


เราได้เคยทำเนื้อหาแนะนำเกี่ยวกับการใช้งาน WebView ไปแล้ว
ในบทความตอนแรกๆ ซึ่งเป็นการใช้งาน plugin ที่ชื่อว่า webview_flutter
โดยสามารถปรับแต่ง และใช้งานได้ดีในระดับที่น่าพอใจ แต่อย่างไรก็ดี 
ก็ยังมีส่วนที่ไม่สามารถจัดการได้ เช่น การเล่นวิดีโอแบบเต็มหน้าจอ รวมถึง
การปรับแต่งที่มากกว่า ซึ่งสำหรับในบางรูปแบบเราอาจจะจำเป็นต้องใช้ความ
สามารถนั้น ดังนั้น เราจึงจะมาแนะนำตัว plugin อีกตัว ที่มีความสามารถเหนือกว่า
และปรับแต่งได้มากกว่า แต่ก็จะมาพร้อมกับความยุ่งยากในการปรับแต่งอยู่บ้าง
ถ้าเทียบกับตัวเดิม ในที่นี้เราจะแนะนำ flutter_inappwebview ที่รองรับการ
แสดงวิดีโอแบบเต็มหน้าจอได้
 
ทบทวนเกี่ยวกับ WebView จากบทความก่อนหน้าได้ที่
การใช้งาน WebView แสดงเว็บไซต์ ใน Flutter http://niik.in/1043
 
 

ติดตั้ง package ที่จำเป็นเพิ่มเติม ตามรายการด้านล่าง

    แพ็กเก็จที่จำเป็นต้องติดตั้งเพิ่มเติม สำหรับการทำงานมีดังนี้
 
  url_launcher: ^6.3.0
  flutter_inappwebview: ^6.1.3
 
    การตั้งค่าต่างๆ และเวอร์ชั่นของ flutter และ dart ที่รองรับ ดูได้ที่เว็บไซต์ของ plugin 
หรือทบทวนจากบทความก่อนหน้าเกี่ยวกับการใช้งาน WebView
 

เปิดเว็บไซต์ภายในแอปด้วย InappWebview

    เนื้อหานี้ เราจะมาประยุกต๋การใช้งาน โดยจะแสดงคำอธิบายไว้ในโค้ดตัวอย่าง ความสามารถที่ตัว
plugin เดิมทำได้ เราก็จะนำมาประยุกต์ให้ใช้งานได้ใน plugin ตัวนี้ นั่นคือให้ทำได้ดีกว่าเดิมถ้า
เป็นได้ แต่ที่ทดสอบดูจะมีบางจุด เช่น การแทรก css และ javascript อาจจะไม่เร็วเท่า plugin 
ตัวเดิม แต่ก็สามารถประยุกต์ได้
    เราจะทำหน้าที่โหลดเว็บไซต์แบบเต็มหน้า และมีปุ่มควบคุม เช่น การโหลดซ้ำ การย้อนกลับ การ
ไปหน้าถัดไป หรือการกลับไปหน้าเริ่มต้น เราทำเป็นปุ่มไว้ส่วนบนไว้ใช้งาน
 

ไฟล์ inappwebview.dart

 
import 'dart:collection';
import 'package:flutter/foundation.dart';
import 'package:flutter/material.dart';
import 'package:flutter_inappwebview/flutter_inappwebview.dart';
import 'package:url_launcher/url_launcher.dart';

class InappWeb extends StatefulWidget {
  static const routeName = '/inappweb';

  const InappWeb({Key? key}) : super(key: key);

  @override
  State<StatefulWidget> createState() {
    return _InappWebState();
  }
}

class _InappWebState extends State<InappWeb> {
  // กำหนด key สำหรับ InAppWebView กรณีต้องการไม่ให้ซ้ำหรืออ้างอิง
  final GlobalKey webViewKey = GlobalKey();

  // ตัวควบคุม webview
  InAppWebViewController? webViewController;
  // กำหนดการต้้งค่าเริ่มต้นต่างๆ 
  InAppWebViewSettings settings = InAppWebViewSettings(
      isInspectable: kDebugMode, // รองรับการตรวจสอบ (inspect) ค่า true หรือ false
      mediaPlaybackRequiresUserGesture: false, // ผู้ใช้ต้องกดเพื่อเล่น หรือเล่นอัตโนมัติ
      allowsInlineMediaPlayback: true, //  ให้เล่นมีเดียแบบ inline
      iframeAllow: "camera; microphone", //  iframe สามารถขอเข้าถึงกล้องและไมโครโฟน
      iframeAllowFullscreen: true // ให้ iframe แสดงผลแบบเต็มหน้าจอ
  );

  // ส่วนสำหรับควบคุมการปัดลงเพื่อรีเฟรช หรือ Pull to refresh
  PullToRefreshController? pullToRefreshController;

  // กำกนดตัวเก็บค่าสถานะการโหลดข้อมูล
  final ValueNotifier<double> _progressNotifier = ValueNotifier<double>(0);

  // กำหนดค่าเริ่มต้นเป็น false สถานะการเลื่อนในเมนู ว่าไปหน้าเพจก่อนหน้า ไปหน้าถัดไป
  final ValueNotifier<bool> _canGoBack = ValueNotifier<bool>(false);
  final ValueNotifier<bool> _canGoForward = ValueNotifier<bool>(false);

  // ส่วนสำหรับกำหนดเมนูคลิกขวา หรือ การกดค้างแล้วแสดงเมนู
  late ContextMenu contextMenu;
  String url = ""; // สำหรับเก็บ url
  double progress = 0; // สถานะการโหลด
  // สำหรับเก็บค่า ข้อความ อาจจะใช้เก็บ url ได้
  final urlController = TextEditingController();

  @override
  void initState() {
    super.initState();

    // ตั้งค่าเิริ่มต้นเมื่อใช้งาน สำหรับการสร้างปุมเมนู กำหนดเอง
    // ในที่นี้เพิมแค่เมนูเดียวเป็นตัวอย่าง ชื่อว่าเมนู Special
    contextMenu = ContextMenu(
        menuItems: [
          ContextMenuItem(
              id: 1,
              title: "Special",
              action: () async {
                // กำหนด คำสั่งตามต้องการ ถ้าเลือกเมนูนี้
                // ในตัวอย่าง แสดงข้อความที่เลือก ถ้ามี จากนั้นให้ปล่อยการโฟกัส
                print("xdebug: Menu item Special clicked!");
                print("xdebug: ${await webViewController?.getSelectedText()}");
                await webViewController?.clearFocus();
              })
        ],
        // ซ่อนเมนูของรบบหรือไม่ ถ้า true จะไม่แสดงเมนูอื่นๆ เช่น เมนูคัดลอก จะแสดงแค่เมนูที่เราสร้างขึ้น
        settings: ContextMenuSettings(hideDefaultSystemContextMenuItems: true),
        // คำสั่งเมื่อกดค้าง เพื่อแสดงเมนู ทำงานทันทีที่เรียกใช้
        onCreateContextMenu: (hitTestResult) async {
          print("xdebug: onCreateContextMenu");
          print("xdebug: ${hitTestResult.extra}");
          print("xdebug: ${await webViewController?.getSelectedText()}");
        },
        // เมื่อยกเลิกการเลือก หรือเมนูที่ขึ้นแสดง ซ่อนไป
        onHideContextMenu: () {
          print("xdebug: onHideContextMenu");
        },
        // เมื่อคลิกที่เมนู ที่แสดงขื้นมา
        onContextMenuActionItemClicked: (contextMenuItemClicked) async {
          var id = contextMenuItemClicked.id;
          print("xdebug: onContextMenuActionItemClicked: " +
              id.toString() +
              " " +
              contextMenuItemClicked.title);
        });

        // ส่วนของการตั้งค่าการกดปัดลงเพื่อรีเฟรช
        // ตรวจสอบให้ทำงานถ้าเป็น platform ที่รองรับ
        pullToRefreshController = kIsWeb ||
            ![TargetPlatform.iOS, TargetPlatform.android]
                .contains(defaultTargetPlatform)
        ? null // ถ้าไม่รองรับ ไม่ต้องแสดงอะไร
        : PullToRefreshController( // ถ้ารองรับก็ใช้งาน PullToRefreshController widget
            settings: PullToRefreshSettings(
              color: Colors.blue,
            ),
            onRefresh: () async {
              if (defaultTargetPlatform == TargetPlatform.android) {
                webViewController?.reload();
              } else if (defaultTargetPlatform == TargetPlatform.iOS) {
                webViewController?.loadUrl(
                    urlRequest:
                        URLRequest(url: await webViewController?.getUrl()));
              }
            },
        );
  }

  // ฟังก์ชั่นสำหรับเรียกใช้งานการแทรก CSS และ JavaScript
  void _injectCSSAndJavaScript() async {
    print("xdebug: inject css run");
    if (webViewController != null) {
      print("xdebug: inject css run and controller work");

      // ข้อความ css code
      String css = """
        .header-layout-side.morenews-header,
        #secondary,
        .af-breadcrumbs,
        footer.site-footer {
          display:none;
        }
      """;

      // ข้อความ javascript code
      String script = """
        var style = document.createElement('style');
        style.type = 'text/css';
        style.appendChild(document.createTextNode(`$css`));
        document.head.appendChild(style);
      """;

      // ตัวอย่างการแทรก JavaScript (Inject JavaScript)
      await webViewController!.evaluateJavascript(source: script);

      // ตัวอย่างถ้าต้องการแทรก css (Inject CSS)
/*       await webViewController!.injectCSSCode(source: """
.header-layout-side.morenews-header,
#secondary,
.af-breadcrumbs,
footer.site-footer {
  display:none;
}
      """); */
    }
  }

  // การยกเลิกและล้างค่าต่างๆ เมื่อได้ใช้งาน เพื่อคืนหน่วยความจำ
  @override
  void dispose() {
    //pullToRefreshController!.dispose();
    _progressNotifier.dispose();
    urlController.dispose();
    _canGoBack.dispose();
    _canGoForward.dispose();
    super.dispose();
  }

  @override
  Widget build(BuildContext context) {
    // รับค่า url ที่ส่งมาใน arguments
    // const url = ModalRoute.of(context)!.settings.arguments as String;
    // กำหนด url เริมต้น
    const url = "https://www.ninenik.com";
    // เก็บ url ไว้จัดการ ถ้าต้องการควบคุมผ่าน  TextEditingController 
    urlController.text = url;

    return Scaffold(
        appBar: AppBar(
          backgroundColor: Color.fromRGBO(64, 64, 64, 1),
          foregroundColor: Colors.white,
          title: Text(
            'Tiktok',
            style: TextStyle(color: Colors.white),
          ),
          actions: <Widget>[
            // ส่วนของเมนูควบคุมการท่องเว็บ สร้างมาจาก อีก คลาส 
            // เพื่อจะได้จัดการง่าย ส่งคาที่จำเป็นไปตามรูปแบบที่กำหนด
            NavigationControls(
              controller: webViewController,
              canGoBack: _canGoBack,
              canGoForward: _canGoForward,
              initialUrl: url,
            ),
          ],
        ),
        body: SafeArea( // ใช้ให้แสดงเฉพาะส่วนที่ไม่เกี่ยวกับแถบสถานะแบตด้านบน
            child: Column(children: <Widget>[
          Expanded(
            child: Stack( // จัดเรียงแบบซ้อนทับด้วย Stack
              children: [
                // ส่วนของการแสดง webview อยู่ล่างสุด
                InAppWebView(
                  key: webViewKey,
                  initialUrlRequest: URLRequest(url: WebUri(url)), // เรียก url เริ่มต้น
                  // ส่วนเรียกให้ทำงานก่อน เมื่อมีการ render เฟรมแรก
                  onPageCommitVisible: (controller, url) async {
                    // ในที่นี้เราเอาไว้แทรก css และ javascript 
                    _injectCSSAndJavaScript();
                  },
                  // การแทรกสริปเมื่อเริ่มค้น โดยไว้กำหนด script ที่ไม่ให้แก้ไขได้ ในที่นี้เป้นค่าว่าง
                  initialUserScripts: UnmodifiableListView<UserScript>([]),
                  initialSettings: settings, // ใช้การตั้งค่าที่กำหนดด้านบน
                  contextMenu: contextMenu, // ส่วนแสดงเมนูคลิกขวา หรือกดค้าง
                  pullToRefreshController: pullToRefreshController, // pull to refresh
                  onWebViewCreated: (controller) async {
                    // เมื่อเริ่มการสร้าง webview กำหนดค่า controller ไว้ใช้งาน
                    webViewController = controller;
                  },
                  onLoadStart: (controller, url) async { // เมื่อเริ่มโหลดหน้าเว็บ
                    _progressNotifier.value = 0; // สถานะการโหลด
                    setState(() {
                      // กำหนดค่าเริมต้นต่างๆ 
                      this.url = url.toString();
                      urlController.text = this.url;
                    });
                  },
                  // เมื่อเว็บไซต์นั้นๆ  ร้องขอสิทธิ์การเข้าถึงส่วนต่างๆ
                  onPermissionRequest: (controller, request) async {
                    return PermissionResponse(
                        resources: request.resources,
                        action: PermissionResponseAction.GRANT);
                  },
                  // การทำงานเมื่อมีการกดลิ้งค์ในเว็บไซต์
                  shouldOverrideUrlLoading:
                      (controller, navigationAction) async {
                        // ตรวจสอบค่าจาก url
                    var uri = navigationAction.request.url!;

                    // ถ้าไม่ใช่ค่าตามที่ระบบไว้ ให้เรียกใช้ฟังก์ชั่นการเปิดจาก url_launcher
                    if (![
                      "http",
                      "https",
                      "file",
                      "chrome",
                      "data",
                      "javascript",
                      "about"
                    ].contains(uri.scheme)) {
                       // เปลี่ยนลิ้งค์ เป็น url ที่สามารถเข้าได้ เช่น intent:// เปลี่ยนเป็น https:// 
                      String newUrl = '';
                      newUrl  = uri.toString().replaceFirst('${uri.scheme}://', 'https://'); // แปลงเป็น https URL
                      print("xdebug: not in allow ${newUrl}");
                      WebUri newUri = WebUri(newUrl);
                      if (await canLaunchUrl(newUri)) {
                        // เปิดจากแอป หรือส่วนอื่นที่ผ่านหน้าเว็บ
                        await launchUrl(
                          newUri,
                        );
                        // ถ้าไม่สามาถเปิดผ่านส่วนจัดการใดๆ ได้
                        return NavigationActionPolicy.CANCEL;
                      }
                    }
                    // กรณีเป็น url ตามลิสรายการที่กำหนด ให้อนุญาตเข้าใช้งานได้
                    return NavigationActionPolicy.ALLOW;
                  },
                  // เมื่อโหลดหน้าเพจเสร็จ
                  onLoadStop: (controller, url) async {
                    // หยุดการทำงานส่วนควบคุม pull to refresh
                    pullToRefreshController?.endRefreshing();
                    // เก็บค่าสถานะการลิ้งค์ไปหน้าต่างๆ ว่าทำได้หรือม่
                    _canGoBack.value =
                        await webViewController?.canGoBack() ?? false;
                    _canGoForward.value =
                        await webViewController?.canGoForward() ?? false;
                    setState(() {
                      this.url = url.toString();
                      urlController.text = this.url;
                    });
                  },
                  // กรณีการโหลดเกิด error 
                  onReceivedError: (controller, request, error) {
                    pullToRefreshController?.endRefreshing();
                  },
                  // การดำเนินการระหว่างกำลังโหลดหน้าเพจ
                  onProgressChanged: (controller, progress) {
                    // เมื่อโหลดเสร็จ 100 %
                    if (progress == 100) {
                      pullToRefreshController?.endRefreshing();
                    }
                    // ในระหว่างการโหลด เก็บค่า percent ไว้แสดง
                    _progressNotifier.value = progress / 100;
                    setState(() {
                      this.progress = progress / 100;
                      urlController.text = this.url;
                    });
                  },
                  // เมื่อมีการรีโหลดหน้านั้นๆ
                  onUpdateVisitedHistory: (controller, url, isReload) {
                    setState(() {
                      this.url = url.toString();
                      urlController.text = this.url;
                    });
                  },
                  // เมื่อมีการแสดงข้อความจาก console.log
                  onConsoleMessage: (controller, consoleMessage) {
                    print(consoleMessage);
                  },
                ),
                // ส่วนของการแสดงสถานะขณะกำลังโหลด
                // ส่วนนี้จะซ้อนอยู่ด้านบนก่อนที่เว็บจะโหลดเสร็จก็จะหายไป
                ValueListenableBuilder<double>(
                  valueListenable: _progressNotifier,
                  builder: (context, progress, child) {
                    if (progress == 1.0) {
                      return SizedBox
                          .shrink(); // ไม่แสดงอะไรเมื่อโหลดเสร็จ
                    } else {
                      // ขณะกำลังโหลด เราสามารถสร้างตัวคลุมไม่ให้เห็นส่วนของเว็บกำลังโหลดได้
                      // อย่างในที่นี้ เราสร้างตัวคลุมพื้นหลังสีขาว กั้นไว้ ให้ css หรือ javascript ทำงาน
                      // ถ้าอยากให้เห็นหน้าเพจกำลังโหลด สามารถกำหนดสีพ้ืนหลังเป็น Colors.transparent
                      return Container(
                        width: double.infinity, // Full width
                        height: double.infinity, // Full height
                        color: Colors.white, // White background
                        child: Center(
                          child: Column(
                            mainAxisAlignment: MainAxisAlignment.center,
                            children: [
                              CircularProgressIndicator(
                                color: Color.fromRGBO(64, 64, 64, 1),
                                value: progress,
                              ),
                              SizedBox(height: 10),
                              Text('${(progress * 100).round()}%'),
                            ],
                          ),
                        ),
                      );
                    }
                  },
                )
              ],
            ),
          ),
        ])));
  }
}

// สร้าง widget สำหรับทำปุ่มควบคุม เช่น ก่อนหน้า ย้อนหลัง รีเฟรช
class NavigationControls extends StatelessWidget {
  // กำหนด class constructor รับค่าที่จำเป็น
  const NavigationControls({
    required this.controller,
    required this.canGoBack,
    required this.canGoForward,
    required this.initialUrl,
    Key? key,
  }) : super(key: key);

  // กำหนดตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
  /*
   ValueNotifier เป็นชนิดข้อมูลใน Flutter ซึ่งเป็น subclass ของ ChangeNotifier 
   ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลและแจ้งเตือนผู้ฟัง (listeners) เมื่อค่าของข้อมูลเปลี่ยนแปลง 
   ชนิดข้อมูลนี้มีประโยชน์ในการจัดการสถานะ (state) อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องใช้ state management 
   library ที่ซับซ้อน เช่น Provider หรือ Bloc
  */
  final InAppWebViewController? controller;
  final ValueNotifier<bool> canGoBack;
  final ValueNotifier<bool> canGoForward;
  final String initialUrl;

  /*
  ValueListenableBuilder เป็น widget ที่ใช้ในการสร้าง UI ที่ฟังการเปลี่ยนแปลงค่าของ 
  ValueNotifier และทำการ rebuild UI เมื่อค่าของ ValueNotifier มีการเปลี่ยนแปลง
  */
  @override
  Widget build(BuildContext context) {
    return Row(
      children: <Widget>[
        ValueListenableBuilder<bool>(
          valueListenable: canGoBack,
          builder: (context, value, child) {
            return IconButton(
              icon: Icon(
                Icons.home,
                color: value ? Colors.white : Colors.white60,
              ),
              onPressed: value
                  ? () => controller?.loadUrl(
                      urlRequest: URLRequest(url: WebUri(initialUrl)))
                  : null,
            );
          },
        ),
        ValueListenableBuilder<bool>(
          valueListenable: canGoBack,
          builder: (context, value, child) {
            return IconButton(
              icon: Icon(
                Icons.arrow_back,
                color: value ? Colors.white : Colors.white60,
              ),
              onPressed: value ? () => controller?.goBack() : null,
            );
          },
        ),
        ValueListenableBuilder<bool>(
          valueListenable: canGoForward,
          builder: (context, value, child) {
            return IconButton(
              icon: Icon(
                Icons.arrow_forward,
                color: value ? Colors.white : Colors.white60,
              ),
              onPressed: value ? () => controller?.goForward() : null,
            );
          },
        ),
        IconButton(
          icon: const Icon(Icons.refresh),
          onPressed: () => controller?.reload(),
        ),
      ],
    );
  }
}
 

ผลลัพธ์ที่ได้

 


 
 
ตัวอย่างโค้ดนี้สามารถนำไปประยุกต์ปรับแต่งใช้งานได้เลย คำอธิบายแสดงในโค้ด รองรับการแสดงวิดีโอ
แบบเต็มหน้าจอ ทดสอบโดยการลิ้งค์ไปยังหน้ายูทูป แล้วเล่นวิดีโอที่ต้องการ แล้วเปิดแบบเต็มหน้าจอ
ซึ่งความสามารถนี้ ไม่สามารถทำได้ ถ้าใช้ webview_flutter
    หวังว่าเนื้อหานี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย บทความหน้าจะเป็นอะไร รอติดตาม


กด Like หรือ Share เป็นกำลังใจ ให้มีบทความใหม่ๆ เรื่อยๆ น่ะครับ



อ่านต่อที่บทความ



ทบทวนบทความที่แล้ว









เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง






เนื้อหาพิเศษ เฉพาะสำหรับสมาชิก

กรุณาล็อกอิน เพื่ออ่านเนื้อหาบทความ

ยังไม่เป็นสมาชิก

สมาชิกล็อกอิน



( หรือ เข้าใช้งานผ่าน Social Login )




URL สำหรับอ้างอิง





คำแนะนำ และการใช้งาน

สมาชิก กรุณา ล็อกอินเข้าระบบ เพื่อตั้งคำถามใหม่ หรือ ตอบคำถาม สมาชิกใหม่ สมัครสมาชิกได้ที่ สมัครสมาชิก


  • ถาม-ตอบ กรุณา ล็อกอินเข้าระบบ
  • เปลี่ยน


    ( หรือ เข้าใช้งานผ่าน Social Login )







เว็บไซต์ของเราให้บริการเนื้อหาบทความสำหรับนักพัฒนา โดยพึ่งพารายได้เล็กน้อยจากการแสดงโฆษณา โปรดสนับสนุนเว็บไซต์ของเราด้วยการปิดการใช้งานตัวปิดกั้นโฆษณา (Disable Ads Blocker) ขอบคุณครับ